หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และคณะ
 
เข้าชม : ๑๘๙ ครั้ง
ศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยบ้านดง (ชนมปี้) ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

ผู้วิจัย: ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา นางสาวอรอนงค์  วูวงศ์และ พระปลัดอุดร  อุตฺตรเมธี,ดร.


                                               บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านดง ในด้านการปฏิบัติวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ  วัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อและเบื้องหลังจารีตประเพณี ความเชื่อที่อิงหลักทางพุทธศาสนา
         ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากรในบ้านดง  2 หมู่บ้าน  คือ หมู่ 4 จำนวน 747 หมู่  8 จำนวน 485 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าบุคคลที่มีส่วนในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบท วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมทางด้านวัตถุ ความคิดความเชื่อของชาวบ้านดง เช่น เจ้าอาวาสวัดบ้านดงเหนือ,เจ้าอาวาสวัดบ้านดงใต้,       เจ้าอาวาสวัดหนองแขม, ผู้นำชุมชนแบบไม่เป็นทางการ, อดีตครูที่เคยอยู่ที่โรงเรียนบ้านดง, ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่ในชุมชน
           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะผู้วิจัยในฐานะเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discusion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม(Participatory  Observstion), การสัมภาษณ์เจาะลึก (In depth Interview  and Probe)

ผลการวิจัย 
        1.  วิถีชีวิตของชนบ้านดง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ด้านการปฏิบัติจริง จะอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ มีผู้ชายเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันผู้นำในที่นี้มีตัวแทนชื่อว่า “อะล้าปู่” ผู้ที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้จะต้องเป็นเชื้อสายเดียวกัน  ผู้ชายที่ไม่ได้เป็นสายเลือดเดียวกันจะเป็นไม่ได้ การศึกษาจะใช้วัดเป็นสถานที่ศึกษาและบุตรหลานและปฏิบัติพิธีกรรมต่าง ๆ
         2.  วัฒนธรรมด้านวัตถุ เช่น การแต่งกาย การสร้างบ้านเรือน ของใช้ในครัวเรือน ได้แก่ กัวะข้าว ถ้วย ชาม วัดหรือสถานที่ทำพิธีกรรมหรือกิจกรรมทางศาสนาอาหารและยาในอดีตสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะอาศัยอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างกลมกลืน  แต่ปัจจุบันได้มีการไหลบ่าของวัฒนธรรมจากคนพื้นเมืองเข้าไปมาก  ทำให้ชาวบ้านดงรับเอาวัฒธรรมของคนพื้นเมืองไปผสมผสานกับการดำรงชีวิตของตนเองมาก จนบางสิ่งบางอย่างไม่หลงเหลือความเป็นตัวของตัวเอง
        3.  วัฒนธรรมทางความเชื่อ จารีตประเพณี ที่แสดงออกในพิธีกรรมต่างๆ เช่น  พิธีการแต่งงาน พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีวันขึ้นปีใหม่ ความเชื่อในเรื่องโชคลางเชื่อในเรื่องทำบุญทำทาน เช่น การตานขันข้าว การบูชาท้าวทั้งสี่  (ต้าวตั้งสี่) ประเพณียี่เป็ง ประเพณีการปูจาข้าว พิธีกรรม การเข้าเบิก (สวดเบิก) 
        4. จารีตประเพณี  ความเชื่อที่อิงหลักทางพุทธศาสนา  ชาวบ้านดงจะมีความเชื่อที่อิง  หลักทางพระพุทธศาสนา หลายอย่างที่แสดงออกในการปฏิบัติประจำวัน เช่น การบูชา  หมายถึงการเทิดทูน การยกย่อง หรือการสนับสนุนเฉพาะบุคคลที่ควรบูชา  มีอยู่  2 ประเภท คือ บูชาวัตถุ (ปูชนียวัตถุ)และบุคคลบูชา (ปูชนียบุคคล), ความกตัญญู มี 3 อย่าง คือ กตัญญูต่อวัตถุ  กตัญญูต่อบุคคล  กตัญญูต่อตนเองและหลักความสามัคคี  

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕