หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาขวัญชัย กิตฺติปาโล
 
เข้าชม : ๑๘๕ ครั้ง
ผลการสำรวจพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข ๖ ของนักเรียนมัธยมศึกษา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาขวัญชัย กิตฺติปาโล ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๕/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยเรื่อง “ผลการสำรวจพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข ๖ ของนักเรียนมัธยมศึกษา”  เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสำรวจพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข ๖  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  เขตอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิที่เข้าร่วมพิธีกรรมและไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข ๖ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เขตอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิที่เข้าร่วมพิธีกรรมและไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๔๐๐ คน โดยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเข้าร่วมพิธีกรรม จำนวน ๒๐๐ คน และกลุ่มไม่เข้าร่วมพิธีกรรม จำนวน ๒๐๐ คน และใช้วิธีเปรียบเทียบก่อนกับหลังการทดลองโดยการใช้สถิติทดสอบ  t – test
     ผลการวิจัย พบว่า   นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในเขตพื้นที่ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ   ในกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย           มีอายุต่ำกว่า ๑๔ ปี   กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้เกรดเฉลี่ยสูงกว่า ๒.๙๕  บิดาและมารดประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพอิสระบิดามารดามีรายได้น้อยกว่า ๘,๐๘๘.๗๓ บาทต่อเดือน  
       ส่วนกลุ่มไม่เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุสูงกว่า ๑๔ ปี กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เกรดเฉลี่ยสูงกว่า ๒.๙๕   บิดา มารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพอิสระ  บิดามารดามีรายได้น้อยกว่า ๘,๐๘๘.๗๓ บาทต่อเดือน  
                ผลดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข  ๖   ในกลุ่มเข้าร่วมพิธีกรรม พบว่า  โดยภาพ รวม  อยู่ในระดับ “มาก” และรายด้านทั้ง ๖  อยู่ในระดับ  “มาก”  ส่วนกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ด้านความไม่มีโรค, ความมีสุขภาพดี(อาโรคยะ) สุขภาพจิต อยู่ในระดับ “ปานกลาง”  ด้านความประพฤติดี มีวินัยไม่ก่อเวรกัน ได้ฝึกในมรรยาทอันงาม (ศีล) อยู่ในระดับ  “ปานกลาง”  ด้านศึกษาแนวทางการดูแบบอย่างเข้าถึงความคิดของพุทธศาสนิกชนผู้เป็นบัณฑิต (พุทธานุมัต) อยู่ในระดับ  “มาก” ด้านดำเนินชีวิตและกิจการงานโดยทางชอบธรรม (ธรรมานุวัติ) อยู่ในระดับ  “มาก”   ด้านใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญและทันต่อเหตุการณ์  (สุตะ) อยู่ในระดับ  “มาก”  ด้านเพียรพยายามไม่ระย่อ, มีกำลังใจแข็งกล้าไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป  (อลีนตา)อยู่ในระดับ “ปานกลาง”  และด้านความไม่มีโรค, ความมีสุขภาพดี (อาโรคยะ) สุขภาพกาย  มีอยู่ในระดับ  “น้อย”  
                จากการหาค่าแปรปรวนในการเพื่อค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มเข้าร่วมพิธีกรรมพระพุทธศาสนา และไม่เข้าร่วมพิธีกรรม ต่อการดำรงชีวิตตามหลักธรรมวัฒนมุข ๖  ได้จากค่าเฉลี่ยของตัวแปรตาม  ๖  ด้าน เมื่อใช้สถิติ  t –test ในการหาค่าความแตกต่างระหว่าง ๒ กลุ่ม พบว่า  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ แสดงว่า  ผลของการเข้าร่วมพิธีกรรทางพระพุทธศาสนามีผลต่อการดำรงชีวิตตามหลักวัฒนมุข ๖ นักเรียนมัธยมศึกษา
 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕