หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางพิศสมัย หมกทอง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นางพิศสมัย หมกทอง ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ., ป.ธ.๗,พธ.บ., ศศ.ม., ร.ป.ม.,(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต, พธ.บ., ร.บ., M.A., Ph.D.(Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                   การวิจัย          ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร         (๒) เพื่อศึกษาผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก         ธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล  และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๖๕ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ( T - test ) และค่าเอฟ (F - test)  โดยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

                   ๑. สถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๑๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ  ๕๑.๗  มีอายุ ๓๐-๓๙ ปี จำนวน ๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๔ มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน ๑๔๕ คนน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๗ มีตำแหน่งเป็นข้าราชการ จำนวน ๑๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๐ มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งระหว่าง    ๖-๑๐ ปี จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖ มีรายได้ต่อเดือน ๑๐,๐๐๑-๑๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๘๗ คน คิดเป็นร้อยละ  ๓๒.๘

                   ๒. ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า  พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

                   ๓. การเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่าบุคลากรมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ด้านเพศไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ด้านอายุ การศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง รายได้ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามมติฐานที่ตั้งไว้

                   ๔. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลัก          ธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นั้นพบว่ามีน้อย และมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหาร บริหารงานโดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลให้ครบทั้ง ๖ ด้าน เพราะ   หลักธรรมาภิบาลเป็นการบริหารการปกครองที่ดีที่ทุกๆ ภาคส่วนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะที่จะนำมาใช้ในการบริหารองค์กรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕