หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สิบตำรวจโทหญิง ธมลณัฏฐ์ พายจะโป๊ะ
 
เข้าชม : ๑๖๗๗๓ ครั้ง
ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ : ศึกษากรณีข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
ชื่อผู้วิจัย : สิบตำรวจโทหญิง ธมลณัฏฐ์ พายจะโป๊ะ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์พระมหาอำนวย อํสุการี พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, พ.ม., พธ.บ, M.A., Ph.D.(Sociology)
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์ พธ.บ., M.A., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลัก พรหมวิหาร ๔ ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (๒) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ(๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ซึ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการทหารสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศจำนวน ๒๒๖ คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

                  ผลการวิจัยพบว่า 

              จากการวิจัย พบว่า ระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านจะพบว่า ข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ            มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักอุเบกขามากที่สุด รองลงมาคือหลักเมตตา      หลักมุทิตาและหลักกรุณา ตามลำดับ

    การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทหารที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นว่า ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการทหารที่มีประเภทนายทหาร การศึกษา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นว่า ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร ๔ โดยภาพรวมแตกต่างกัน

              ผลการวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การใช้หลักพรหมวิหาร ๔ สามารถประยุกต์ใช้กับผู้นำขององค์กร ซึ่งผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติในส่วนบุคคลและในการบริหารจัดการ โดยให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านการศึกษา ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเป็นผู้นำองค์กรในยุคปัจจุบัน ที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยเน้นที่อุเบกขาให้มาก สามารถนำมาปรับใช้ในองค์กรในเรื่องของการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา การพิจารณาความดีความชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และการเป็นแบบอย่างที่ดีในการชี้แนะ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเน้นให้ทุกคนมีจิตวิญญาณของการสำนึกในหน้าที่ ร่วมกันกำหนดทิศทางขององค์กร และมีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อส่งผลให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕