หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปัญจะ กิตฺติเมโธ (ดีพิจารย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปัญจะ กิตฺติเมโธ (ดีพิจารย์) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  อาจารย์วันชัย สุขตาม ประโยค ๑-๒,พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.บ., รป.ม.(การจัดการทุนมนุษย์)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ            (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและการประยุกต์ใช้ในการนำหลักไตรสิกขามาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมสารวัตรทหารเรือที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรของกรมสารวัตรทหารเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

จำนวน ๒๖๙ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ มีความเชื่อมั่น ๐.๙๒๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ วิเคราะห์โดย การทดสอบค่าที (t - test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟ (F - test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๓ กลุ่ม ขึ้นไป ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

 

             ๑. ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๓) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด      ( = ๔.๔๑) ในด้านศีล (การฝึกอบรมพัฒนาด้านพฤติกรรม) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด              ( = ๔.๐๔)  ด้านปัญญาตามลำดับ

             ๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ที่จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ และตำแหน่ง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ บุคลากรมีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

             ๓. ปัญหาและอุปสรรค ที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ ได้แก่ ๑) ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจและไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรเมื่อเจอสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษาศีล ๒) มีความรู้สึกตึงเครียด เมื่อเจอปัญหาอุปสรรคหรือความเร่งรีบ ความคาดหวังต่อความสำเร็จของงาน ๓) การฝึกอบรมพัฒนาที่ต้องรับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถที่สูงขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

             ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือควรเพิ่มรูปแบบการพัฒนาเพื่อให้มีลำดับขั้นตอนการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบตามหลักการพัฒนายุคใหม่และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ตามหลักของศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งก็คือการพัฒนาในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และในด้านปัญญา ซึ่งประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือให้ดียิ่งขึ้น

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕