หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดอำนาจ ปญฺาธโร (ผลจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดอำนาจ ปญฺาธโร (ผลจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ., ป.ธ.๗,พธ.บ., ศศ.ม., ร.ป.ม.,(การจัดการความขัดแย้ง)
  พล.ต.ดร.วีระ วงศ์สรรค์, วท.บ., กศ.บ. (เกียรตินิยม), น.บ., ศศ.บ., ค.ม., ศศ.ม., กศ.ด. (การวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาความคิดของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ                         ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น  อำเภอเซกา  จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓.  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา  จังหวัดบึงกาฬ ที่มีประสิทธิภาพตามความคิดเห็นของประชาชน  ดำเนินการโดยวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำนวน ๓๖๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๓๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ๔๖ ปีขึ้นไป จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๔ มีระดับการศึกษา ประถมศึกษา จำนวน ๑๗๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๕ มีอาชีพกสิกรรม/เกษตร จำนวน ๑๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๙  รายได้/ต่อเดือน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน  ๑๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๑ และจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการ ๑-๒ ครั้ง จำนวน ๑๙๐ คน                            คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑

๒. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ทั้ง ๖ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง          (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๙๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักความรับผิดชอบ ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านหลักความคุ้มค่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย

๓. การเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล น้ำจั้น อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ          ระดับการศึกษา  อาชีพ  และรายได้/ต่อเดือน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนจำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๔. ความคิดเห็นในปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลัก         ธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้นนั้น ในปัญหาและอุปสรรค พบว่ามีบ้างเล็กน้อย และมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารบริหารงานโดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลให้ครบทั้ง ๖ ด้าน เพราะหลัก       ธรรมาภิบาลเป็นการบริหารการปกครองที่ดีที่ทุกๆ  ส่วนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะที่จะนำมาใช้ในการบริหารองค์กรต่างๆ  ให้มีความประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕