หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาณัชพล พนฺธญาโณ (นราวงษ์)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์อุเบกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาณัชพล พนฺธญาโณ (นราวงษ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี ป.ธ.๘, พธ.บ., พธ.ม.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

  บทคัดย่อ

                        วิทยานิพนธ์เรื่องศึกษาวิเคราะห์อุเบกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนว        สติปัฏฐาน ๔  มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา  ๓ ประการ คือ   เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน    ที่มีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท   เพื่อศึกษาอุเบกขาที่มีปรากฏในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์การเจริญอุเบกขาในสติปัฏฐาน ๔  โดยการเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสาร คือ ศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถา  ฎีกา  และคัมภีร์อื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า  การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา  คือการปฏิบัติที่เป็นไปตามหลักสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  คือการพิจารณาเห็นกาย ในกาย  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต   ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  แม้ในพระไตรปิฏกจะมีเรื่องกล่าวถึงผู้ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมเมื่อฟังจบ  แต่ไม่มีใครบรรลุธรรมโดยมิได้เจริญสติปัฎฐาน   อย่างใดอย่างหนึ่ง     ความจริงแล้วทุกคนต้องบรรลุธรรมด้วยการเจริญสติปัฎฐานอันเป็นทางสายเดียวนี้  เพราะวิปัสสนาญาณและมรรคญาณเป็นปัญญาที่เกิดจากการอบรมจิต  เมื่อจิตระลึกรู้สภาวธรรมล้วนๆ  และมีสมาธิตั้งมั่นอยู่ในสภาวธรรม  ปัญญาที่เกิดร่วมกับสติและสมาธิย่อมจะพัฒนาแก่กล้าขึ้นตามลำดับปัญญาดังกล่าวเรียกว่า  ภาวนามยปัญญา  คือ  ปัญญาเกิดจากการอบรมจิต 

                        ผู้วิจัยได้ศึกษา ค้นพบว่า อุเบกขามี ๑๐  ประการด้วยกัน   แต่ศึกษาเฉพาะกรณีอุเบกขาสัมโพชฌงค์พบว่าโพชฌงค์   ประการ มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นที่สุดนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกันตรงตามหลักในมหาสติปัฏฐานสูตรทีฆนิกายมหาวรรค  พระพุทธองค์ตรัสหลักการปฏิบัติในเรื่องนี้ว่า  ให้การกำหนดรู้ธรรมในธรรม  หมายความว่า  เมื่อเกิดสติกำหนดรู้กาย และใจ  ตามเป็นจริงอยู่  ให้รู้อาการนั้นให้ชัดเจนอย่างจดจ่อต่อเนื่องจนเห็นความเป็นจริงในกายใจนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน  การเห็นความจริงอย่างนี้ส่งผลให้เกิดความรู้ในกายใจตามเป็นจริง   กระบวนของความรู้นี้ชื่อว่า สัมโพชฌงค์  คือ  เมื่อระลึกย่อมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาย่อมเกิดความเพียรกล้า  เมื่อเกิดความเพียรกล้า  ย่อมเกิดความอิ่มใจเข้าใจธรรม เมื่อเกิดความอิ่มใจจึงเกิดความสงบสุขกายสุขใจ  เมื่อมีความสุขกายสุขใจจึงเกิดสมาธิความตั้งมั่น  เมื่อเกิดความตั้งมั่นในกายใจตามเป็นจริง  จึงเกิดความปล่อยวางเรียกว่า อุเบกขา  เมื่อเกิดอุเบกขาแล้ว กระบวนในโพชฌงค์   ก็จะดำเนินไปอย่างบริบูรณ์สมบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ  จนถึงความพ้นทุกข์  เพราะกระบวนการของโพชฌงค์   นี้จัดอยู่ในฝ่ายของความรู้ที่นำพาไปสู่ความพ้นทุกข์จริง  คือ  นิพพาน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕