หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระทรงยศ ยสธโร (ตั้งจิตพิทักษ์กุล)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๙ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลในปุณโณวาทสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระทรงยศ ยสธโร (ตั้งจิตพิทักษ์กุล) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุเทพ พรมเลิศ ป.ธ.๙, พธ.บ., ศศ.ม., พธ.ด.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                 การศึกษาเรื่อง  “ ศึกษาการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลในปุณโณวาทสูตร ” มีวัตถุประสงค์ ๒  ประการ  คือ  เพื่อศึกษาหลักธรรมในปุณโณวาทสูตรและ  เพื่อศึกษาการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลในปุณโณวาทสูตร  โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  คือพระไตรปิฎก  อรรถกถา  ฎีกา  และคัมภีร์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 

                 จากการศึกษาพบว่า  ปุณโณวาทสูตรเป็นโอวาทของพระพุทธองค์ที่แสดงแก่           พระปุณณะมีเนื้อหาหลักธรรมสำคัญ  คือ  ขันธ์ ๕  อายตนะ ๑๒  อริยสัจ ๔  วิชชา ๓

                 คำว่า  มรรคผลในทางพระพุทธศาสนา  หมายถึง โลกุตตรมรรค อันได้แก่  โสดาปัตติมรรค  สกทาคามิมรรค  อนาคามิมรรค  อรหัตตมรรค  ผลในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง  โลกุตตรผล  ได้แก่ โสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  อรหัตตผล

              สำหรับการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลที่ปรากฏในปุณโณวาทสูตรนั้น  ท่านพระปุณณะท่านได้เจริญสมถะก่อนที่จะเจริญวิปัสสนา  เรียกว่าสมถยานิก  จนจิตเข้าถึงฌานได้บรรลุวิชชา ๓  โดยอาศัยสมถะเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาและได้กำหนดอายตนะเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา  ตามหลักสติปัฏฐาน ๔  เพราะอายตนะเป็นภูมิหนึ่งของวิปัสสนา  พระพุทธองค์ได้ให้โอวาทพระปุณณะโดยการชี้ให้เห็นอริยสัจ ๔  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรคและได้ชี้ให้เห็นคุณและโทษของอายตนะ   ในการปฏิบัติต้องมีสติเข้าไประลึกรู้  ถึงผัสสะกับอารมณ์ที่มากระทบจากภายในและภายนอก   พิจารณาให้เห็นความเป็นอนิจจัง   ทุกขัง  อนัตตา  ว่าไม่สามารถที่จะไปบังคับบัญชาหรือให้คงสภาพได้ 

              อายตนะ ๑๒  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  เป็นอายตนะภายใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  ธรรมารมณ์  เป็นอายตนะภายนอก  เป็นองค์ธรรมที่สำคัญ  เพื่อให้ปัญญารู้รูป-นามเกิดขึ้น  เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ  เพราะการปฏิบัติวิปัสสนา คือ  การรู้รูป-นามโดยความเป็นพระไตรลักษณ์สามารถขจัดอวิชชา ทำภพชาติให้สิ้นสุดได้ โดยกำหนดอายตนะเป็นอารมณ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕