หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวณัฏฐจิตต์ เลาห์วีระ
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๒ ครั้ง
ศึกษาการพัฒนาอินทรีย์ในอินทริยภาวนาสูตร
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฏฐจิตต์ เลาห์วีระ ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร ผศ., ป.ธ.๙, M.A., Ph.D
  พระราชสิทธิมุนี ป.ธ.๙, อม., พธ.ด.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมในอินทริย-ภาวนาสูตร (๒) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาอินทรีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

                      วิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยด้านเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกและ หนังสือที่เกี่ยวกับคำสอนทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ตลอดถึงงานเขียนต่างๆ เรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ  แล้วนำมาศึกษาและอธิบายเพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย

                      ผลการวิจัยพบว่า  “อินทริยภาวนาสูตร”  เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้า  ตรัสถึงวิธีการเจริญอินทรีย์   มีเนื้อหากล่าวถึงอินทรีย์  คือ ก) อินทรีย์ในอินทริยภาวนาสูตรคือศึกษาอารมณ์ที่มากระทบทางอายตนะ ๖  ข) อินทรีย์ ๕ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา โดยมีความศรัทธาเป็นตัวนำความเพียรและองค์ธรรมอื่นๆ  เป็นธรรมที่สนับสนุนกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติธรรมบรรลุเป้าหมาย คือความพ้นทุกข์   ค) การพัฒนาอินทรีย์มี ขั้น คือ () สติสังวรเอาสติระมัดระวังอินทรีย์ ๖ มิให้กิเลสได้ช่องไหลเข้าครอบงำจิตใจ () ญาณสังวรเอาความรู้ทำการพิจารณาอารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้รู้เท่าทัน () ขันติสังวรเอาความอดทนเข้าข่มความรู้สึกที่เกิดจากอินทรีย์ ๖ นั้นจนดับไปเอง () วิริยสังวร เอาความเพียรเปลี่ยนแปลงความรู้สึกไปตามความต้องการของตนโดยทำนองหนามยอกเอาหนามบ่ง  ง) พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีอบรมอินทรีย์ที่ยังอ่อนอยู่ให้กล้าแข็งขึ้น มี ๕ ประการ คือ (๑) ได้มิตรดี (๒) เป็นคนมีศีล (๓) ได้ฟังกถาวัตถุเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (๔) ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด (๕) เป็นผู้มีปัญญา  จ) การฝึกอินทรีย์นี้ เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้า มี ๒ คู่ คือ ทางซ้าย ๒ ตัว ทางขวา ๒ ตัว รวมเป็น ๔ ตัว ต้องมีกำลังสมบูรณ์ทั้งหมด จึงทำให้การลากรถนั้น เป็นไปได้โดยสะดวก ส่วนคนขับคือสตินั้น คอยบังคับม้าให้ไปสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย  สมกับชิโนรสบุตรพระบรมศาสดาที่นำมาเป็นกรณีศึกษามีพระนันทเถระเป็นต้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕