หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสันติ สิทธิสมบูรณ์ (ถ่ออาง)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๑ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน
ชื่อผู้วิจัย : พระสันติ สิทธิสมบูรณ์ (ถ่ออาง) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. ป.ธ. ๗, รบ., พช.ม. (พัฒนาชุมชน), พธ.ด (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ชำนะ พาซื่อ ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A. (ปรัชญา)
  ดร.แสวง นิลนามะ ป.ธ.๗, พธ.บ., พธ.ม.(ปรัชญา), พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้มีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายาน และ (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาเถรวาทกับมหายาน  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก อรรถกถา สำรวจข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า

พระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์มี ๒ ประเภท ได้แก่ อนิยตะ ๑ นิยตะ ๑ พระโพธิสัตว์ที่ไม่ได้รับพยากรณ์  หรือรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า  จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต  เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์  พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์  คือ  จะต้องมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน โดยที่จำต้องประพฤติปฏิบัติตนด้วยหลักธรรมสโมธาน ๘ และบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์เป็นต้นด้วย

ผลการเปรียบเทียบพบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทยึดหลักการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ แบ่งเป็น ๓ ลำดับชั้น  ส่วนพระพุทธศาสนามหายาน แต่เดิมมีเพียงบารมี ๖ ทัศ ต่อมาภายหลังซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มสมัยไหน เพิ่มจาก ๖ ทัศมาเป็น ๑๐ ทัศเช่นเดียวกัน พระพุทธศาสนามหายานได้กล่าวถึงโพธิสัตวยานอันหมายถึงยานของพระโพธิสัตว์ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วยพระมหากรุณาในสรรพสัตว์ ก้าวล่วงอรหัตภูมิ จึงกล่าวได้ว่าโพธิสัตวยานเป็นการสร้างเหตุอันมีพุทธภูมิเป็นผล การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เบื้องต้นจะต้องมีมหาปณิธาน ๔ ประการและบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้เป็นไปตามลำดับและต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ก่อนแล้วจึงบำเพ็ญบารมีข้ออื่นต่อไป จุดมุ่งหมายของมหายานทุกๆ นิกายต่างมุ่งบรรลุพุทธภูมิได้ โดยผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์มา แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดของฝ่ายเถรวาทโดยทั่วไปอยู่ที่อรหันตภาวะ คือ ความเป็นพระอรหันต์สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิง

 

ดาวน์โหลด     

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕