หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมมิตร ผาสุโก (รัตนพาณิชย์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว จนฺทาโภ)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมมิตร ผาสุโก (รัตนพาณิชย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีสุนทรสรกิจ ผศ,.ดร. ป.ธ.๖, พธ.บ.,M.A.Ph.D.
  ผศ,.ดร.สรเชต วรคามวิชัย ป.ธ.๙,ศน.บ.,M.A.,Ph.D.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                วิทยานิพนธ์เรื่องศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว จนฺทาโภ) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว     จนฺทาโภ)เพื่อศึกษาผลของวิปัสสนากรรมฐานของพระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว จนฺทาโภ)ที่มีต่อชุมชน วิธีดำเนินการวิจัยนั้น ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ วิทยานิพนธ์ วารสาร สื่อออนไลน์ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มพระสังฆาธิการ ชาวบ้าน ที่เข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนาในวัดป่าบ้านตรวจ ต.ศรีณรงค์ อ.ศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ และสรุปผลอภิปรายผลแบบบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า

                       ส่วนของการใช้หลักการปฏิบัติตามแนวพระไตรปิฎกพบว่า แนวการปฏิบัติของพระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว จนฺทาโภ) ใช้หลักการกำหนด อิริยาบถ น้อยใหญ่ สังเกตดูจิต เพื่อรู้เท่าทันความคิดซึ่งจัดเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน และมีหลักการปฏิบัติครอบคลุมสติปัฎฐานทั้ง ๔ ซึ่งใช้วิธีการเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะและวิธีการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ โดยใช้หลักการและวิธีการในพระไตรปิฎกสอดคล้องกันมาก เมือกล่าวโดยจุดมุ่งหมายสูงสุดแล้วแนวการปฏิบัตินี้ล้วนเป็นไปเพื่อการควบคุมและและอยู่เหหือความทุกข์นั่นเอง หมายแห่งหลักการและวิธีการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก

 

                       พระครูจันทปัญญาภรณ์ (ขาว จนฺทาโภ) เป็นพระเถระที่เผยแผ่หลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ ที่มีการประยุกต์หลักการหายใจและอิริยาบถต่างๆ มาเป็นวิธีการปฏิบัติที่มีคำบริกรรมว่า หนอ ตามเสมอ ที่วัดป่าบ้านตรวจ มีการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การแก้ปัญหาทางสังคมที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายใน คืออุปาทานในขันธ์ ๕ มีคุณค่าในการน้อมนำเข้าสู่โลกุตตรธรรมตามลำดับจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพาน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕