หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอุทิศ โอภาโส (คะรุนรัมย์)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
ศึกษาศีลข้องดดื่มสุราเมรัยในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอุทิศ โอภาโส (คะรุนรัมย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมพาน ชาคโร (ศรีวิลาศ) ป.ธ.๔,ศน.บ.,ศน.ม.,Ph.D.
  พระอธิการเวียง กิตฺติวัณโณ (กิตศรีรุ่งโรจน์) พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      การศึกษาวิจัยเรื่อง ศีลข้องดดื่มสุราเมรัยในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของการบัญญัติศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน  ศึกษาผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน   ศึกษาโทษอันเกิดจากการล่วงละเมิดศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานวิธีดำเนินการวิจัยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก  คัมภีร์อรรถกถา ตำราเอกสารทางวิชาการ  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผลของการวิจัยพบว่า

                      ๑.  ศึกษาความเป็นมาของการบัญญัติศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน  พบว่าในสมัยพุทธกาล    เมืองโกสัมพี  มีพระฉัพพัคคีย์นามว่าพระสาคตะเป็นต้นบัญญัติของเรื่องสุราเมรัย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า  “ ภิกษุทั้งหลาย  การกระทำของสาคตะนั้นไม่สมควรไม่คล้อยตาม  ไม่เหมาะสม  ไม่ใช่กิจสมณะ  ใช้ไม่ได้  ไม่ควรทำ  ไฉนสาคตะจึงดื่มน้ำเมาเล่า  ภิกษุทั้งหลาย 
การกระทำอย่างนี้  มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส  หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย”  จึงได้บัญญัติพระวินัย  ที่ทรงบัญญัติขึ้น  เพื่อใช้เป็นกฎให้พระสงฆ์ และบัญญัติไปตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว  ที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม  ทำดีทำชั่ว  หรือรักษาศีลละเมิดศีล  ย่อมได้รับผลดีผลชั่วเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย  หรือตามกฎแห่งกรรม  ระดับที่สอง  ได้แก่ระดับวินัยหรือระดับที่เป็นวินัย  คือ  เป็นแบบแผนข้อบังคับที่บัญญัติ  คือ  วางหรือกำหนดขึ้น 
ไว้เป็นทำนองประมวลกฎหมาย  สำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในหมู่ชนหรือชุมชนหนึ่งพระองค์ทรงตรัสต่อเรื่องสมณะที่สมบูรณ์ด้วยศีล  ทั้ง    ประการ  คือ  จูฬศีล(ศีลย่อย)  มัชฌิมศีล(ศีลกลาง)  และมหาศีล (ศีลใหญ่)หมายถึงศีลที่เป็นหลักความประพฤติของพระภิกษุ 

                      ๒. ผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน  มีผลกระทบและเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น  ดังนั้นผู้วิจัยจะได้ศึกษาเกี่ยวกับพุทธวิธีแก้ปัญหาการล่วงละเมิดศีลข้อที่ ๕  ในด้านต่าง ๆ คือ มีผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมโดยภาพรวม ดังนี้ ๑)  ด้านสุขภาพกายสุขภาพจิตสุขภาพกายทรุดโทรมและสุขภาพจิตต่ำลง ๒) ด้านการศึกษา  สติปัญญาไม่โปร่งใส ๓)  ด้านครอบครัวมีการแตกแยก  และสมาชิกในครอบครัวติดสุรามากขึ้น ๔) ด้านเศรษฐกิจการ  รายรับไม่พอกับรายจ่ายมีหนี้สินมากขึ้น  ๕) ด้านสังคมโดยภาพรวม เป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  การก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ปัญหายาเสพติดระบาดตามมา  ศีลธรรมจริยธรรมเสื่อมลง

                      ๓. โทษอันเกิดจากการล่วงละเมิดศีลข้อสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานโทษอันเกิดจากการล่วงละเมิดศีลข้อสุรานั้นท่านระบุโทษไว้ ๖ ประการ  คือ๑)  เสียทรัพย์  สิ้นเงินตรา ๒) ก่อความทะเลาะวิวาท ๓)  สุรานำโรคมาให้หมายความว่า การดื่มสุราทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่างตามมาหลายอย่างโรคที่เกิดจากการดื่มสุรา มีอยู่เป็นอันมาก ก็มีดังต่อไปนี้(๑)ทางเดินอาหารสุราทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ(๒) ทางระบบประสาท สุราทำให้มือสั่น ตามัวทำให้เกิดวิกลจริต ที่เรียกว่า บ้าพิษสุรา(๓) ระบบทางเดินโลหิตสุราถ้าดื่มพอสมควร ทำให้ชีพจรเต้นเร็ว ถ้าดื่มมากทำให้ชีพจรอ่อนลงเต้นระยะไม่เท่ากัน และสุดท้ายหมดสติ(๔)  ต่อมไม่มีสาย สุราทำให้อักเสบเรื้อรังทำให้เกิดโรคเบาหวาน ปวดข้อ และเป็นโรคตับแข็ง(๕) ระบบการหายใจสุราทำให้ผู้ดื่มหายใจช้าลง ระยะไม่เท่ากัน ๔) ถูกติเตียนจากคนรอบข้างและสังคมทั่วไป   เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง ๕) ไม่รู้จักอาย เป็นเหตุให้ขาดหิริ ๖) เป็นที่บั่นทอนกำลังปัญญา  ทำให้เกิดปัญหาในสังคมที่เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ คือสังคมภายในครอบครัวขยายมาเป็นปัญหาสังคมใหญ่ในประเทศชาติบ้านเมืองสาเหตุก็มาจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ ๕

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕