หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระประสิทธิ์ ปภาธโร (เวชกุลสันติ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ
ชื่อผู้วิจัย : พระประสิทธิ์ ปภาธโร (เวชกุลสันติ) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. น.ธ. เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., ศศ. ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.รังษี สุทนต์ ป.ธ. ๙, พธ.ม, (พระพุทธศาสนา).
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ (๑) เพื่อศึกษาอัตชีวประวัติและผลงานด้านวรรณกรรมของพุทธทาสภิกขุ (๒ ) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ (๓) เพื่อศึกษาคุณค่าและอิทธิพลของวรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนามนุษย์ในสังคมไทย

                                จากผลการวิจัยพบว่า   ในพระพุทธศาสนาเถรวาทเมืองไทย  มีบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง ชื่อว่าพุทธทาสภิกขุผู้ได้ศึกษาในระดับนักธรรมเอกและเปรียญธรรม    ประโยค   ท่านพักอยู่ในโบสถ์หรือวัดร้างตระพังจิก  ซึ่งต่อมารียกชื่อว่าสวนโมกข์   ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกด้วยความตั้งใจ  แล้วนำผลการศึกษาปฏิบัติมาเขียนเป็นบทความทางพระพุทธศาสนา  เพื่อเอามาสอนประชาชน   ผลงานวรรณกรรม ต่อมาผลงานวรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ คือ ตามรอยพระอรหันต์  พุทธทาสจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม  ๒๔๗๕  จากหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อจิตใจของมนุษย์  มีเป้าหมายมุ่งตรงไปที่การพัฒนามนุษย์   ด้วยผลงานและชื่อเสียงด้านวรรณกรรม   ในยุคหลังท่านพุทธทาสจึงได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโก  ยิ่งกว่านั้นมีคนจำนวนมากทำการศึกษาวิจัยงานของท่าน   จากงานวิจัยพบว่า งานวรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุดีมาก  และน่าสนใจจำนวนมาก

                                จากหลักธรรมในวรรณกรรม  คู่มือมนุษย์  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก  และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุด  ในบรรดาวรรณกรรมธรรมะที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันนี้   หลักธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุนำมาใช้อบรมคณะผู้พิพากษา   เป็นหลักธรรมที่เป็นแก่นสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา  ท่านพุทธทาสได้บรรยายธรรมอบรมผู้พิพากษาทั้งหลายตั้งแต่ชั้นศีลธรรมและชั้นปรมัตถ์ธรรม ซึ่งผู้พิพากษาทั้งหลายต้องรู้  เพราะว่าเป็นผู้พิทักษ์ความเป็นธรรม   นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีคุณธรรมสูงมาพัฒนาชีวิต    เป็นตัวอย่างบุคคลที่ดีในสังคม  เพราะอุดมคติของผู้พิพากษาคือความเป็นธรรม  ผู้พิพากษาทั้งหลายมีวิธีการแก้ปัญหาตามคำสอนในพระพุทธศาสนา  หลักธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุนำมาสอนได้แก่ อริยสัจจ์ ๔  ไตรลักษณ์  อุปาทานสี่ ไตรสิกขา  เบญจขันธ์  หลักธรรมทั้งหมดของพุทธทาสภิกขุที่นำมาสอนครอบคลุม ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ   

                                คุณค่าและอิทธิพลงานวรรณกรรมเรื่องคู่มือมนุษย์  เป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นสากล  วรรณกรรมที่กล่าวถึง  และมีผลต่อการพัฒนามนุษย์ในสังคมไทย และเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้ทุกระดับชั้น  เพราะว่าธรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่รับรองความประพฤติของมนุษย์  และสามารถนำมาประยุกต์แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน  ซึ่งทำให้เกิดความมั่นคงขึ้น  เข้าใจสภาพปัญหาชีวิต  และทำให้คนเข้าใจหลักในการฝึกชีวิตตนเองและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕