หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระโกวิท โกวิโท (สร้างวัด)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงวัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระโกวิท โกวิโท (สร้างวัด) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ดร. M.A., Ph.D.
  พระครูศรีปริยัติยาภิวัฒน์, ดร. M.A., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญเลิศ ราโชติ M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

ดาวน์โหลด

 

 

 

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ () เพื่อศึกษาความเชื่อของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงวัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี      () เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ () เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีความเชื่อต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ จำนวน ๓๒๐ คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเทียบตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน    ๑๗๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๘๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA or F-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการศึกษาพบว่า

๑. ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๔.๑๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านโบราณวัตถุ ค่าเฉลี่ย ๔.๓๙ รองลงมา คือ ด้านอนุสาวรีย์คู่บ้านคู่เมือง ค่าเฉลี่ย ๔.๑๓ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านศาสนวัตถุ ค่าเฉลี่ย ๔.๐๑ ตามลำดับ

            ๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความเชื่อต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

            ๓. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ลำดับตามความถี่สูงไปหาต่ำสามอันดับแรก คือ ควรรณรงค์สืบสานการบูชาพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงให้เป็นที่น่าเคารพน่าบูชาสืบต่อไป รองลงมา คือ เมื่อมองในแง่ของอิทธิฤทธิ์ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ควรน้อมนำเอาหลักปฏิบัติทางจิตมาปฏิบัติเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองด้วย และควรรักษาฟื้นฟูพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงเพื่อเป็นพระพุทธรูปสัญลักษณ์เมืองอุบลราชธานี ประจำทุกปี

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕