หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุรชาติ สิริเตโช
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
ศึกษาความคิดเห็นต่อการเรียนธรรมศึกษาของนักเรียนในเขตตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุรชาติ สิริเตโช ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, ดร., ป.ธ.๔ , พธ.บ.(รัฐศาสตร์),พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D.( Buddhist ).
  ผศ.ดร.สุวิน ทองปั้น, พธ.บ.( ปรัชญา ), M.A.(Phil.), Ph.D.(Phil.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                       

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักสูตรธรรมศึกษาและวิธีการสอนของพระภิกษุ ที่ทำการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียน ในตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด  ๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นการเรียนธรรมศึกษาของนักเรียน ในตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่  คณะครู จำนวน ๓๑  คน นักเรียนธรรมศึกษาตรี โท และเอก จำนวน  ๓๔๐  คน และครูพระสอนธรรมศึกษา จำนวน ๑๐ คน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓๘๑ คน  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๐ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๑๗ คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

                      ผลการวิจัย พบว่า

                      ๑. หลักสูตรธรรมศึกษาและวิธีสอนของพระภิกษุที่ทำการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนในเขตตำบลหนองแก้ว  อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แสดงว่า อยู่ในระดับมากอยู่ ๔ ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการเรียนการสอน  ด้านบุคลิกภาพของภิกษุผู้สอนธรรมศึกษา  ด้านเนื้อหาของหลักสูตร และด้านการวัดและการประเมินผล

                      ๒.  ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการเรียนธรรมศึกษาของนักเรียนในเขตตำบลหนองแก้ว  อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้ ด้านเนื้อหาของหลักสูตร ได้แก่ วุฒิภาวะของนักเรียน ยังมีความไม่พร้อมกับเนื้อหาวิชาที่ยากเกินไป หลักสูตรมีเนื้อหาสาระที่เข้าใจยาก เนื้อหาวิชาที่ทำการสอนมากเกินไป ศัพท์ภาษาธรรมะในหลักสูตรที่ใช้สอนมีมากเกินไป ด้านบุคลิกภาพของภิกษุผู้สอนธรรมศึกษา พระสอนส่วนมากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรในโรงเรียนน้อยเกินไป การใช้วาจาที่ไม่สำรวม การแสดงกิริยามารยาทให้เหมาะสม ด้านการเรียนการสอน การดำเนินการสอนไม่ค่อยแม่นยำในเนื้อหาวิชาที่ทำการสอน การดำเนินการสอนไม่ค่อยแม่นยำในเนื้อหาวิชาที่ทำการสอน ด้านเอกสารในการสอนไม่เพียงพอ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก อธิบายหลักธรรมไม่ชัดเจน ด้านการวัดและการประเมินผล ควรจัดทำแบบทดสอบ เพื่อเป็นการฝึกหัดและทบทวนบทเรียนให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียนเป็นระยะๆ ผลการสอบไม่ควรนานเกินไป และข้อสอบยากเกินไป

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕