หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางเพชรรินทร์ คลังตระกูล
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
ศึกษาการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาล ตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : นางเพชรรินทร์ คลังตระกูล ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน,พธ.บ.,M.B.A , Ph.D. (Pali & Sanskrit)
  ผศ.สุพิมล ศรศักดา, พธ.บ. (การสอนสังคมศึกษา), กศ.ม. (บริหารการศึกษา)
  ดร.เรืองเดช เขจรศาสตร์, พธ.บ. (ปรัชญา), ศษ.ม. (บริหารการศึกษา),บพ.ม. (พัฒนาสังคม), ปร.ด. (ไทศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

              การศึกษาวิจัยเรื่อง “ศึกษาการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาประเพณีการทอดกฐินในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผล       จังหวัดอุบลราชธานี ๓) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผล จำแนก  ตามเพศ  อายุ  อาชีพ การศึกษา  รายได้  งานวิจัยนี้ เป็นเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 

              

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี  พบว่า โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

             ๒. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี  ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพต่างกันโดยภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน

              ๓. ข้อเสนอแนเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีการทอดกฐินของชุมชนเทศบาลตำบลตระการพืชผลพอจะสรุปแนวความคิดได้ดังนี้ ๑) ผู้นำชุมชน หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าครอบครัว ผู้เป็นข้าราชการ ผู้มีความรู้ในชุมชน  พระภิกษุสงฆ์  ชาวบ้าน แนะนำ ให้ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาที่ดีกับผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นอย่างดีในการทำบุญกฐิน ๒) ด้านปัจจัยให้การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่งเสริมปัจจัยในการทำบุญตามประเพณีนิยมและประเพณีการทำบุญพิเศษ ๓) ด้านการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้ชุมชนรับทราบข้อมูลสม่ำเสมอ แนะนำเยาวชนในการร่วมทำบุญทุกครั้งเพื่อเยาวชนจะได้สืบทอดต่อกันไปยังลูกหลาน ๔) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแผ่ประเพณีปัจจัยสำคัญคือ บุคคลเป็นผู้นำที่ดีและตัวอย่างที่ดีในการทำบุญ พิธีการและกระบวนการในทำบุญองค์ประกอบของการทำบุญ ความศรัทธาของผู้ที่จะทำบุญและความพร้อมของเจ้าภาพ วัดที่มีพระภิกษุที่ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ๕) ความคิดเห็นเกี่ยวกับอายุของผู้ที่เป็นเจ้าภาพเป็นปัจจัยสำคัญคือ ผู้ที่มีอายุในช่วงวัยกลางคนมีความเข้าใจในประเพณีการทอดกฐิน คุณสมบัติของวัดที่สามารถรับกฐินได้ในปีหนึ่งๆพร้อมทั้งสามารถชักชวน แนะนำผู้คนที่อยู่ในชุมชนร่วมเป็นเจ้าภาพ ๖) ผู้ที่มีอายุในช่วงวัยทำงานยังขาดความเข้าใจเรื่องการทำบุญและไม่มีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาข้อมูลและเข้าร่วมพิธีการต่างๆเพราะมุ่งแต่หารายได้อย่างเดียว ๗) ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายได้และอาชีพของผู้ที่อยู่ในชุมชนมีบทบาทสำคัญในประเพณีการทอดกฐิน คือ รายได้ผู้ที่มีรายได้ประจำและมั่นคงสามารถมีปัจจัยในการทำบุญถวายปัจจัย ๔ แด่พระภิกษุสงฆ์ได้อย่างไม่เดือดร้อน และผู้ที่มีอาชีพมั่นคงและค้าขายสามารถเป็นเจ้าภาพกฐินได้ทุกปีทั้งมหากฐิน และกฐินสามัคคี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕