หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสุคนธ์ มาพัวะ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การนำหลักสติไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำงาน พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ชื่อผู้วิจัย : นายสุคนธ์ มาพัวะ ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาวรัญญู วรญฺญู, ดร. ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ., ศศ.ม., ปร.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์เรื่อง การนำหลักสติไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำงาน พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสติในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับสติ และสาเหตุปัจจัยในการทำงานผิดพลาดจากบุคคลของพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ๓) เพื่อศึกษาการนำหลักสติไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำงาน ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารและเชิงสำรวจ โดยการรวบรวมเอกสารหลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารวิชาการต่างๆ มาประมวลเป็นองค์ความรู้ จากนั้นได้ทำการสำรวจแจกแบบสอบถามประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงาน สังกัดฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน ๒๑๐ คน จากประชากรทั้งหมด ๔๔๔ คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่หลงไม่ลืม ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ประมาท คือการระลึกรู้อารมณ์ และเป็นสิ่งที่ยับยั้งมิให้จิตตกไปในฝ่ายอกุศล หน้าที่ของสติ คือ การไม่หลงลืมหน้าที่     การจำได้อย่างแม่นยำ เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ การรักษาอารมณ์ให้คงที่อยู่เสมอ ลักษณะของสติ เป็นเจตสิก ระลึกที่เป็นกุศล และเป็นสติปัฏฐาน การนำสติไปใช้ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ สติทำให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญา ใช้เป็นเครื่องระลึกรู้ทางกาย ทางเวทนา ทางจิต และทางธรรมเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นหนทางสายเอกที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งในสัจธรรม ประโยชน์ของสติ คือ ห้ามมิให้เราสร้างกรรมชั่ว ป้องกันมิให้มีการก่อเวรเกิดขึ้น เป็นการเตรียมตัวก่อนตาย ถ้ามีสติเป็นเครื่องระลึกรู้ไม่ต้องไปทุคติภูมิ การมีสตินี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

 ๒) ความเข้าใจเกี่ยวกับสติ ผู้ปฏิบัติงานด้านบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ทราบและเข้าใจน้อยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ๓๖.๑๙ และสาเหตุปัญหาในการปฏิบัติงานของพนักงาน คือการทำงานผิดพลาดจากการทำงานของบุคคล สาเหตุปัจจัยเกิดจาก ๔ สาเหตุ ประกอบด้วย เกิดจากคน,เกิดจากเครื่องมือและอุปกรณ์,เกิดจากวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่าสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดพลาดจากการทำงานของบุคคล เกิดจาก คน มากที่สุดค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = .๕๓) ซึ่งสาเหตุมาจากไม่มีสติสัมปชัญญะ ประมาทเลินเล่อ,เผลอ มากที่สุดค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = .๑๗)

๓) ความคิดเห็นด้านการนำหลักสติไปใช้ เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน การนำหลักเจริญสติสัมปชัญญะ(สติปัฏฐาน ๔) มาแก้ปัญหาทำงานผิดพลาดจากบุคคล ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก          ( = .๑๒) ผู้บริหารควรมีนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ในการนำหลักเจริญสติสัมปชัญญะ(สติปัฏฐาน  ๔)    ให้พนักงานนำมาปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = .๐๔) และควรจัดให้มีการอบรมหลักสูตรเจริญสติสัมปชัญญะ(สติปัฏฐาน ๔) ให้กับพนักงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = .๙๕) สรุปโดยรวมพบว่าผู้ปฏิบัติงานเห็นด้วยกับการนำหลักสติ ไปใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านนโยบาย และด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕