หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » แม่ชีภคพร ธรรมญาณี
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
ศึกษาแนวทางการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย
ชื่อผู้วิจัย : แม่ชีภคพร ธรรมญาณี ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์ พธ.บ.(พุทธศาสนา), M.A. & Ph.D. (Phil. & Rel.)
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์ ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A., ปร.ด.
  ดร. เสรี ศรีงาม พธ.บ.(พุทธศาสนา), M.A. & Ph.D. (Phil. & Rel.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเอกสาร  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัยโดยทำการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยใน ๓ ประการ ได้แก่ (๑) หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒) หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตของผู้สูงวัย และ (๓) วิธีการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย ผลการศึกษาพบว่า  

     หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ คือ การพิจารณาถึงความจริงมี ๕ ประเภท คือ พิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และกรรมที่เราทำกรรมอันใดไว้ต้องได้รับผลกรรมนั้น ๆ ตามนัยแห่งการพิจารณาอภิณหปัจจเวกขณ์ ได้ทุกโอกาสหรือพิจารณาบ่อย ๆ ให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ด้วยสติปัญญา และอยู่ในกรอบของไตรสิกขา เป็นต้น เห็นและเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต จนนำไปสู่การปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญในการพิจารณาธรรมที่ควรพิจารณาคืออภิณหปัจจเวกขณ์  เพื่อให้ยอมรับตามความจริง ซึ่งเราทุกคนต้องพิจารณาเพื่อให้เข้าใจความจริงของชีวิต และดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท

             หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย  โดยผู้วิจัยได้ศึกษา คำว่า “อภิณหปัจจ-เวกขณ์” ตามนัยทัศนะทางพระพุทธศาสนา และนักวิชาการอื่นๆ ถึงความหมาย บาทฐาน ประเภท วิธีการปฏิบัติตามอภิณหปัจจเวกขณ์ และการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง และใช้แบบสัมภาษณ์ทั้งก่อน และหลังการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งมีผลเป็นคุณค่าทางสถิติดังนี้

                      ๑) ผู้สูงวัยได้พิจารณาถึงชะราธัมมะตา  คือ พิจารณาความแก่ โดยเรียงจากค่าเปอร์เซ็นต์มากไปหาค่าเปอร์เซ็นต์น้อยตามลำดับได้แก่  ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา (๔๕%) ความแก่เป็นเรื่องจริงแห่งสัจจะธรรม (๓๕%)  ความแก่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต (๓๐%)ความแก่เป็นเรื่องความทุกข์ (๒๕%) และ ความแก่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง (๕%) 

                      ๒) ผู้สูงวัยได้พิจารณาพยาธิธัมมะตา คือ ความเจ็บป่วย โดยเรียงจากค่าเปอร์เซ็นต์มากไปหาค่าเปอร์เซ็นต์น้อยตามลำดับได้แก่  ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องในการดำเนินชีวิต (๕๐%)  ความเจ็บป่วยนำมาซึ่งทุกข์ (๔๐%)  ความเจ็บป่วยส่งผลด้านจิตใจ (๓๐%) ความเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต (๒๐%)  และความเจ็บป่วยเป็นภาระในการรักษา (๑๐%)

                      ๓) ผู้สูงวัยได้พิจารณาถึงมรณะธัมมะตา  คือ พิจารณาความตาย โดยเรียงจากค่าเปอร์เซ็นต์มากไปหาค่าเปอร์เซ็นต์น้อยตามลำดับได้แก่  ความตายเป็นเรื่องความทุกข์ (๕๐%) ความตายเป็นเรื่องธรรมดา (๓๕%)  ความตายเป็นเรื่องของการสูญเสีย (๒๕%) ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว (๑๕%) และ ความตายเป็นเรื่องของการพลัดพราก (๕%)        

                      ๔) ผู้สูงวัยได้พิจารณาถึงปิยวินาภาวตา การพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักและพอใจ          โดยเรียงจากค่าเปอร์เซ็นต์มากไปหาค่าเปอร์เซ็นต์น้อยตามลำดับได้แก่  ความพลัดพรากเป็นเรื่องความทุกข์ (๕๕%) ความพลัดพรากเป็นเรื่องของการสูญเสีย (๔๐%) ความพลัดพรากเป็นเรื่องของการพลัดพราก  (๓๕%)  ความพลัดพรากเป็นเรื่องใกล้ตัว (๒๐%)  และ ความพลัดพรากเป็นเรื่องธรรมดา (๑๐%) 

                      ๕) ผู้สูงวัยได้พิจารณากัมมัสสะกะตา พิจารณากรรม โดยเรียงจากค่าเปอร์เซ็นต์มากไปหาค่าเปอร์เซ็นต์น้อยตามลำดับได้แก่  มีกรรมเป็นของตน ดีหรือชั่ว (๔๕%) มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย (๓๕%) มีกรรมเป็นผู้ให้ผล (๓๐%)  มีกรรมเป็นผู้ติดตาม (๒๐%) และมีกรรมเป็นแดนเกิด (๑๐%)

                      วิธีการใช้หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ในการฝึกจิตผู้สูงวัย ควรฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา เช่น ฝึกตามหลักสติสัมปชัญญะ ในระหว่างทำงาน หรือว่างการทำงานเป็นต้น ฝึกให้จิตตั่งมั่นอย่างสม่ำเสมอด้วยสติ เมื่อจิตตั่งมั่นเป็นสมาธิในระดับใดระดับหนึ่งแล้วก็หันมาเจริญปัญญาวิปัสสนาโดยการยกจิตพิจารณาถึงหลักอภิณหปัจจเวกขณ์ คือ เราไม่ล้วงพ้นความแก่ เจ็บ ตาย ของ พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น และเรามีกรรมเป็นของตนเอง ชั่วก็ตาม ดีก็ตามจะต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น ๆ  ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ควรพิจารณาเนืองๆ ทุกวัน เพื่อให้ใจเกิดความคุ้นเคย จะเป็นเหตุให้รีบเร่งทำความดี  และเพื่อไม่ให้เกิดความมัวเมาทั้งปวง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕