หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์กรกิจ ปิยธมฺโม (หงษ์สุข)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบพุทธปรัชญาการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กับศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์กรกิจ ปิยธมฺโม (หงษ์สุข) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร. ป.ธ.๙ พธ.บ., ศศ.ม., อ.ม., กศ.ด.
  ผศ.ดรวรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙ ศษ.บ., ศษ.ม. ปร.ด.
  ผศ.อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖ พธ.บ., ศษ.บ. กศ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)  เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาของกับศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี  และศึกษาการบูรณาการแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาและการประยุกต์พุทธปรัชญาการศึกษาในการจัดการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมมฺจิตฺโต) กับ ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี  โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร และเอกสารที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยพระไตรปิฎกที่เป็นหลักตลอดทั้งอรรถกถาและคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานเขียนของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมมฺจิตฺโต) งานเขียนของศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธปรัชญาการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้

๑)  การศึกษาแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)  พบว่า  มุ่งเน้นการพัฒนาที่ตัวบุคคลเป็นสำคัญ โดยเน้นแนวทางในการพัฒนา ๔ สดมภ์ ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพ  การพัฒนาสมรรถภาพ การพัฒนาคุณภาพ และการพัฒนามนุษยภาพ เพื่อให้สามารถผลิตคนที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และอุดมด้วยคุณธรรมจริยธรรม เพื่อพร้อมที่เดินทางเข้าสู่การประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ

๒) การศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี  พบว่า มีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ทั้งในด้านการกำหนดความหมายของการศึกษา จุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตร และวิธีสอน เพื่อเน้นที่การพัฒนาประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

๓)  การศึกษา การบูรณาการแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาและการประยุกต์พุทธปรัชญาการศึกษาในการจัดการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมมฺจิตฺโต) กับ ศาสตราจารย์
ดร. สาโรช บัวศรี  พบว่า ส่วนใหญ่แนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาของพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) มีความโดดเด่นในการนำเสนอตัวอย่างหรือเรื่องราวที่มีความสอดคล้องกับอธิจิตตสิกขา  ได้แก่ สมาธิ เป็นหลัก  ส่วนแนวคิดพุทธปรัชญาการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มีความสอดคล้องกับอธิศีลสิกขา  ได้แก่ ศีล เป็นหลัก ในการบูรณาการแนวคิดเกี่ยวกับอธิปัญญาสิกขา  ได้แก่ ปัญญา พระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เน้นเกี่ยวกับองค์ประกอบของพุทธปรัชญาการศึกษา ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ของการศึกษา คือ การพัฒนาศักยภาพ โดยมุ่งสอนเรื่องโยนิโสมนสิการ และให้ผู้เรียนรู้จักกลั่นกรองข้อมูลดิบให้เป็นองค์ความรู้ใหม่
  และการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษยภาพ โดยมุ่งให้เสรีภาพทางความคิด  คือ  คิดตามหลักโยนิโสมนสิการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา และในแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี  ด้านความหมายของการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อสอนให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามทางปัญญา และด้านวิธีการสอน ที่เน้นวิธีการสอนด้วยวิธีการแห่งปัญญา ให้ยึดถือในปัญญาธรรมเป็นสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕