หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอุดมญาณาภิรัต (ขันทอง ค่าแพง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๗ ครั้ง
การศึกษาทรรศนะของพระพุทธศาสนาที่มีต่อลัทธิครูทั้ง ๖
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอุดมญาณาภิรัต (ขันทอง ค่าแพง) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์, ดร.
  ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. บุญเลิศ ราโชติ
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายศึกษาทรรศนะทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อลัทธิครูทั้ง ๖ ในประเด็นศึกษาดังต่อไปนี้ คือ ๑. ทรรศนะของลัทธิของครูทั้ง ๖  ๒.ทรรศนะของพระพุทธศาสนาที่มีต่อลัทธิของครูทั้ง ๖  ๓.อิทธิพลของทรรศนะของลัทธิครูทั้ง ๖ ที่มีต่อสังคมไทย

จากการศึกษาพบว่า ลัทธิครูทั้ง ๖ นั้นมีชื่อเสียงร่วมสมัยกับศาสนาพุทธ มีทรรศนะคำสอนที่มีอิทธิพลต่อคนอินเดียในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก โดยสรุปทรรศนะของลัทธิครูทั้ง ๖ได้ ดังนี้ ๑)ลัทธิครูปูรณกัสสป มีทรรศนะคำสอนโดยสรุปก็คือ บุญไม่มี บาปไม่มี ความดีไม่มี ความชั่วไม่มี  เป็นลัทธิที่ปฏิเสธกฎเกณฑ์ของศีลธรรมโดยสิ้นเชิง ๒)ลัทธิครูมักขลิโคสาล  มีทรรศนะคำสอนโดยสรุปได้ว่ากรรมที่บุคคลทำไว้แล้วในอดีต ไม่มีผลไปถึงในอนาคตนั่นคือ ไม่มีเหตุ หรือไม่มีปัจจัยนั่นเอง ๓)ลัทธิครูอชิตเกสกัมพล  มีทรรศนะคำสอนว่าโดยสรุปได้ว่า บุญและบาปไม่มี การทำบาปไม่มีผล การทำบุญทำทานก็ไม่มีผล  ๔)ลัทธิครูปกุทธกัจจายนะ มีทรรศนะคำสอนโดยสรุปได้ว่า  อณูและจิตเป็นของเที่ยงแท้ ๕)ลัทธิครูนิครนถนฎบุตร ที่ถือการทรมานกายเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ มีทรรศนะคำสอนโดยสรุปได้ว่าความจริงมีหลายเงื่อนหลายแง่ ๖)ลัทธิครูสัญชัยเวลัฎฐบุตรมีทรรศนะคำสอนต่างๆ ที่ไม่แน่นอน ซัดส่าย ลื่นไหล

ผลจาการศึกษาวิจัยพบว่าทรรศนะของพุทธศาสนาที่มีต่อลัทธิครูทั้ง ๖ นั้นพระพุทธเจ้าทรงจัดทรรศนะลัทธิครูทั้ง ๖ นี้ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทั้งสิ้น โดยสรุปลงในมิจฉาทิฏฐิ ๒ ประการ คือ สัสสตทิฏฐิ ที่มีทรรศนะว่าสรรพสิ่งมีความเที่ยงแท้,มั่นคง,ยั่งยืน และอุจเฉททิฏฐิ ที่มีทรรศนะแนวคิดที่ถือว่าอัตตาและโลกขาดสูญปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทำทุกอย่างนั่นเอง 

ทรรศนะต่างๆของลัทธิครูทั้ง ๖ ที่ปรากฏในสังคมไทยนั้นล้วนแต่เหตุแห่งความคลาดเคลื่อนในคำสอนในทางพุทธศาสนาที่ทำให้เกิดทรรศนะแนวคิดแบบลัทธิครูทั้ง ๖ นี้ขึ้น ซึ่งสามารถขจัดได้ด้วยสัมมาทิฎฐิ ที่มีปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ กัลยาณมิตร เป็นผู้กระตุ้นเกิดความให้เจริญงอกงามเห็นแจ้งในสรรพสิ่งตามความเป็นจริง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕