หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระฐตรฐ อธิปญฺโญ (ศิลาศิลป์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
การศึกษาหลักความเชื่อในพิธีศพของชาวพุทธตำบลคูคำที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม
ชื่อผู้วิจัย : พระฐตรฐ อธิปญฺโญ (ศิลาศิลป์) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร.ป.ธ.๖, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pali&Bud.)
  ดร.ประยูร แสงใส ป.ธ.๔, พธ.บ.,M.A.(Ed.),P.G.DIP.IN Journalism, Ph.D. (Ed.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                         วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาพิธีศพในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาความเชื่อพิธีศพตามหลักพุทธธรรมของชาวตำบลคูคำ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น     และ ๓) เพื่อศึกษาประโยชน์เกี่ยวกับพิธีศพของชาวตำบลคูคำ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผลการวิจัยพบว่าประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในสมัยพุทธกาลการจัดงานศพนั้นถือเป็นเรื่องที่นำมาซึ่งความเศร้าโศกสำหรับคนทั่วไปคนอินเดียในสมัยพุทธกาลมีวิธีการจัดการเกี่ยวกับศพนั้นโดยจะใช้วิธีการต่างๆหลายวิธีด้วยกันจำแนกได้ดังนี้นำศพไปทิ้งในป่าหรือในป่าช้าผีดิบเพื่อให้เป็นอาหารของแร้งกานำศพไปฝังดินนำศพไปไว้ที่ป่าช้าแล้วให้ค่าจ้างสัปเหร่อทำหน้าที่ในการเผานำไปเผาแล้วนำกระดูกมาก่อเจดีย์ประเพณีการนำศพไปลอยทิ้งในแม่น้ำสายสำคัญประเพณีเกี่ยวกับการจัดพิธีพระบรมศพของพระพุทธเจ้าและบุคคลสำคัญในสมัยพุทธกาลจะจัดพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายเฉพาะบุคคลสำคัญเช่นพระพุทธเจ้าพระพุทธบิดาและพระพุทธสาวกบางองค์เท่านั้นส่วนบุคคลทั่วไปจะไม่เน้นพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายจะจัดการกับศพอย่างเรียบง่ายโดยการเผาการฝังการทิ้งศพให้เป็นอาหารของสัตว์และการจัดการเกี่ยวกับศพก็จะทำทันทีหลังจากที่ตายแล้ว

พิธีศพตามหลักพุทธธรรมของชาวตำบลคูคำเพื่อให้เห็นความดีของผู้ตายเด่นชัดขึ้น อะไรก็ตามที่พลัดพรากจากไปแล้วไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ สิ่งนั้นก็จะมีคุณค่า เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตาย ซึ่งในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็อาจได้ทำความดีไว้หลายอย่าง ผู้มีชีวิตจึงต้องทำพิธีศพให้แก่ผู้ตายเพื่อให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ขออโหสิกรรมต่อผู้ตาย ตอนยังมีชีวิตอยู่ได้กระทำผิดต่อผู้ตาย ทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้เคารพศพของผู้ตายทำให้ญาติพี่น้องมีความปรองดองกันมากขึ้น ด้วยความรัก ความอาลัย ความเห็นใจที่ประสบกับความสูญเสียเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพผู้มีชีวิตอยู่ การจัดงานพิธีศพนั้นผู้เป็นเจ้าภาพหากเป็นผู้มีชื่อเสียงและมีฐานะดี มีญาติมิตรมากมายก็จะจัดพิธีศพใหญ่โต เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพ เพื่อให้มีโอกาสได้พบปะญาติมิตรในตระกูลเดียวกัน เมื่อครอบครัวเติบโตขึ้นต่างต้องแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพต่างๆ เมื่อถึงวาระสุดท้ายเสียชีวิตของญาติคนใดคนหนึ่งก็จะกลับมาร่วมกันประกอบพิธีศพให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตไปเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้ และ ทำให้เกิดอัปมาทธรรม คือ เกิดความไม่ประมาท มีสติ

คุณค่าการจัดพิธีศพของชาวพุทธด้านหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนาทำให้เข้าใจถึงหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ และได้เข้าใจในสังขารมนุษย์ว่าเป็นของไม่เที่ยงด้านจิตใจนั้นทำให้ตะหนักโดยการตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ต่อกันของบุคคลที่อยู่ในสังคมเดียวกัน เช่น บุตรและธิดาต้องทำหน้าที่ของตน คือ ตอบแทนพระคุณของบิดามารดา เพราะท่านให้ความอุปการะต่อบุตรและธิดามาก่อน พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ในทิศทั้ง ๖ กล่าวคือ บุตรและธิดาต้องทำหน้าที่และมีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา คุณค่าและประโยชน์อีกอย่างหนึ่งทำให้เห็นสัจธรรม คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา เมื่อเห็นสัจธรรมนี้แล้วก็จะไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท ทำให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น และสุดท้ายก็เป็นการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมของชาวตำบลคูคำ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น ให้คงอยู่ต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕