หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการณัฐพลชัย ฉนฺทธมฺโม ( พิศแสนสุวรรณ )
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
ศึกษามารดา-บิดาต้นแบบในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการณัฐพลชัย ฉนฺทธมฺโม ( พิศแสนสุวรรณ ) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ ปธ.๔ ผศ., Ph.D
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ พธ.บ. M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร. สรเชต วรคามวิชัย ศน.บ. M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                        วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของความเป็นมารดา-บิดาต้นแบบ ศึกษาบุคคลที่เป็นมารด-บิดาต้นแบบในพระพุทธศาสนาเถรวาท    และ ศึกษาแนวทางการประยุกต์คุณสมบัติของความเป็นมารดา-บิดาต้นแบบในสังคมปัจจุบัน

 

 ผลของการวิจัยพบว่า  

                        คุณสมบัติของความเป็นมารดาบิดาต้นแบบในพระพุทธศาสนาในเบื้องต้นจะต้องเป็นผู้มีหลักพรหมวิหาร ๔ และมีหลักคุณธรรมเกี่ยวกับหน้าที่ของมารดาบิดาในการอนุเคราะห์บุตรที่ปรากฏในหลักสิงคาลกสูตร ๕ ประการ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทได้แสดงตัวอย่างของบุคคลที่เป็นมารดาบิดาต้นแบบ ได้แก่ มหาอุบาสิกาวิสาขา มหาอุบาสกอนาถบิณฑิกเศรษฐี และอุบาสกจิตตคหบดี แนวทางการประยุกต์คุณสมบัติของความเป็นมารดาบิดาต้นแบบในการสร้างมารดาบิดาในสังคมปัจจุบัน ในงานวิจัยเรื่องนี้ ได้ยกตัวอย่างบุคคลผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ จากคณะกรรมการคัดเลือกแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๒ คน ได้แก่  ๑) นางเอ็นดู   เทพนคร ได้รับคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นประเภท “แม่ผู้มีความมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร” ๒)  นางปราณี   โรจนสินวิไล ได้รับคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นประเภท “แม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม” และได้ยกตัวอย่างบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นพ่อดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕  จำนวน ๒ คน ได้แก่ ๑) นายแพทย์สมควร ฉ่ำพึ่ง และ ๒) นายมะลิ  มากมูล ซึ่งบุคคลทั้ง ๔ นี้ จังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศให้ เป็นพ่อแม่ตัวอย่างแห่งชาติ ปี พ.ศ.๒๕๕๕

                ผู้วิจัยมีความหวังว่าพุทธศาสนิกชนสังคมยุกต์ปัจจุบันจะได้ศึกษามารดา-บิดาต้นแบบและนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของความเป็นมารดาและบิดาต้นแบบนำมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน อย่างจริงจัง ผู้วิจัยมีเชื่อว่า ย่อมมีส่วนช่วยลดปัญหา ระหว่างมารดา-บิดาและบุตรธิดา อันจะเป็นการ ช่วยแก้ปัญหา ทางสังคม และเป็นแบบอย่างความเป็นมารดา-บิดาที่ดีสืบไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕