หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธีระ ขนฺติธโร (รอดประพัฒน์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การศึกษาขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในชาดก
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธีระ ขนฺติธโร (รอดประพัฒน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระหัสดี กิตฺตินนฺโท, ดร.พระหัสดี กิตฺตินนฺโท, ดร.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ คงสัตย์
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                    การศึกษาเรื่องขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในชาดกมีวัตถุประสงค์                     ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาดกของพระพุทธศาสนา  (๒) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญขันติบารมีในพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้ขันติบารมีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลการศึกษาพบว่า

       แนวคิดเรื่องบารมีและชาดกในพระพุทธศาสนา กล่าวตามความหมายระหว่างบารมีและชาดก  คำว่าบารมี คือ การบำเพ็ญสะสมบุญเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนชาดกเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์  โดยการบำเพ็ญบารมีก็มีความแตกต่างกันออกไปและประเภทที่ได้รับก็มี             ความแตกต่างกันด้วย เพราะโดยความสำคัญของชาดก คือ เพื่อใช้สอนธรรมะ เพื่อศึกษาธรรมะด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อแก้ความสงสัยของพุทธศาสนิกชน มี ๒ ประเภท คือ ชาดกในนิบาตกับชาดกนอกนิบาต  และชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ (๑) ปรารภเรื่องคือ บทนำ จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดก (๒) อดีตนิทาน หรือชาดก หมายถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่า (๓) ประชุมชาดก ประมวลชาดกเป็นเนื้อความตอนสุดท้ายของชาดก กล่าวถึงบุคคลในชาดก ว่าผู้ใดกลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบันกาล                                             

การบำเพ็ญขันติบารมีในพระพุทธศาสนา  โดยมีลำดับความเป็นมาของการบำเพ็ญขันติบารมีของโพธิสัตว์ในชาดกที่ยาวนาน ซึ่งโดยความหมายของขันติบารมี คือ ความอดทนต่อ สิ่งต่างๆ และที่สำคัญเป็นเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกทั้งที่ปรากฏในอรรถกถาชาดกการบำเพ็ญขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาดกนั้นสอนให้บุคคลในปัจจุบันได้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับจากการบำเพ็ญขันติบารมี ลำดับเรื่องราวการบำเพ็ญขันติบารมีของ                  พระโพธิสัตว์ในชาดก มี ๒ ประเภท คือ อนิยตโพธิสัตว์และ (๒) นิยตโพธิสัตว์ ในส่วนของระดับขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาดกที่แตกต่างกัน คือ  ขันติบารมีขั้นต้น  ขันติอุปบารมีขั้น                 และขันติบารมีขั้นสูงสุด  ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาดก  อันจะมีคุณค่าของขันติบารมีช่วยขจัดโทสะ  การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  มีอำนาจและวาสนาดีเป็นที่นับถือทางสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว  จุดมุ่งหมายของพระโพธิสัตว์ต่อการบำเพ็ญบารมีก็เพื่อสะสมบุญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า  แต่ปุถุชนก็สะสมไว้เพื่อให้ตนเองได้รับความสุข ความเจริญในการพัฒนาและดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี                                            

                    การประยุกต์ใช้ขันติบารมีในการพัฒนาชีวิต  กล่าวคือ การนำขันติบารมีไปพัฒนาชีวิตสามารถพัฒนาได้ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในด้านจิตใจนั้นจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น ส่วนทางด้านร่างกายจะต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อขันติบารมีกับการรักษาศีล  ๕ ในสังคมไทยเพื่อสกัดกั้นการล่วงละเมิดศีล ๕ สำหรับการประยุกต์หลักขันติบารมีไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ การพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันๆ แก่ร่างกายและจิตใจของเราไม่ให้อ่อนแอ เพราะโทษแห่งการขาดขันติบารมีนั้นสร้างความเดือดร้อนและเสียหายแก่ตนเองและผู้อื่น เช่น ความโทสะ ทำให้ทำร้ายร่างกายของผู้อื่นได้ เป็นต้น เมื่อสามารถบำเพ็ญขันติบารมีธรรมได้แล้วก็จะได้รับประโยชน์ของขันติ ๖ ประการกล่าว คือ (๑) ทำให้เป็นคนหนักแน่น ไม่อ่อนแอ ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญชีวิตทุกชนิดได้  (๒) ทำให้บุคคลมีมารยาทที่ดีงาม  ไม่วู่วาม มักโกรธ  (๓)  ความอดทนช่วยพัฒนาคนให้เป็นบัณฑิต เป็นคนมีเสน่ห์น่ารัก (๔) ความอดทนเป็น            บ่อเกิดของศีล สมาธิ และปัญญา  (๕) ความอดทนเป็นเครื่องมือตัดต้นเหตุของความชั่วทั้งหลาย            และ (๖)  ความอดทนช่วยให้บุคคลประพฤติพรหมจรรย์บรรลุธรรมได้รวดเร็ว ดังเช่นที่ได้ปรากฏการบำเพ็ญขันติบารมีในชาดกของพระโพธิสัตว์  ผู้ปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕