หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสาครธรรมวิธาน (อนุชา ทีปงฺกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสาครธรรมวิธาน (อนุชา ทีปงฺกโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม., รป.ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต, พธ.บ., รบ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร (๒) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลาการทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน ๒๐๑ คน โดยทำการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ (Area Sampling) แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากร โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)  ทดสอบสมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ๒ ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันและค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)  นอกจากนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ (Interview) โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๕ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technic) 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๖๖) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละข้อพบว่า มีการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากทุกข้อ

๒. ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า เพศ วุฒิการศึกษาสามัญ ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงาน มีผลให้การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ไม่แตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยทุกข้อที่ตั้งไว้

๓. ผลการสัมภาษณ์ พบว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่จะนำใช้ในการบริหารงานบุคคลนั้น ไม่ควรยึดหลักธรรมใดหลักธรรมหนึ่งตายตัว แต่ควรมองว่าบุคคลนี้เหมาะสมที่จะใช้หลักธรรมข้อใด สถานการณ์อย่างนี้จะมีวิธีการใด อันจะเป็นประโยชน์ให้กับงาน ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อองค์กรโดยรวม

๔. ข้อเสนอแนะการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของโรงเรียนในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ผู้บริหารจึงต้องพยายามใช้สติปัญญา หลักวิชาทั้งศาสตร์ และศิลปะในการบริหารงานบุคคลคือการส่งเสริมให้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕