หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางมนัสนันท์ ขอนดู่
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
แรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตธนบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นางมนัสนันท์ ขอนดู่ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง,น.ธ.เอก.,พ.ม., พธ.บ.(บริหารการศึกษา), M.A., Ph.D.(Psychology)
  ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์, ป.ธ.๓, พ.ม., พธ.บ.,(ปรัชญา), M.A.(Phi), M.A. (Appl.Phy.), Ph.D. (Psychology)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยเรื่อง แรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตธนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตธนบุรีและ ๒) ศึกษาความแตกต่างในระดับแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตธนบุรี ซึ่งจำแนกแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพออกเป็น ๔ ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านจิตวิทยา และด้านปัญญา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งสิ้นมี ๒๐๐ คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (๖๔.๐๐%) มีอายุ ๕๕-๖๐ ปี (๕๕.๕๐%) มีอาชีพเดิม ราชการ/รัฐวิสาหกิจ (๓๒.๐๐%) มีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท (๔๑.๐๐%) พักอาศัยกับครอบครัว (๘๑.๕๐%) มีโรคประจำตัว (๕๗.๕๐%) และกิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุดคือ ทำบุญ/ให้ทาน/ตักบาตร (๕๔.๐๐%)

             ๒) ระดับแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๐๑) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านจิตวิทยามากที่สุด (  = ๔.๓๓)รองลงมา ด้านปัญญา (  = ๔.๓๐) ด้านสังคมและด้านกายภาพ (  = ๓.๖๗) ตามลำดับ

             ๓) ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและงานปัจจุบัน ที่แตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ อาชีพเดิม งานปัจจุบัน และกิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุดแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตด้านกายภาพที่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่มีงานปัจจุบัน รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตด้านสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕