หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมศักดิ์ สุจิตฺโต (ถมทรัพย์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
การจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระสมศักดิ์ สุจิตฺโต (ถมทรัพย์) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ ๑)  เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนไทยน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ๒)  เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี  

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนไทรน้อย ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖  จำนวน  ๓๑๖  คน   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์   ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, F-test และ One-Way ANOVA

ผลของการวิจัยพบว่า   

ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอไทรน้อย ทั้ง ๕ ด้าน  นักเรียนมีความคิดเห็นว่าด้านความมีเหตุผลเป็นสิ่งที่ได้รับการส่งเสริมจากโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีภูมิคุ้มกัน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนมุ่งสอนให้นักเรียนมีเหตุผลในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนได้รับทราบแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง จากครูเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ นักเรียนได้รับมอบหมายจากครูในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนักเรียนค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในและนอกสถานที่

ด้านความพอประมาณ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความพอประมาณ สามารถนำหลักการของความพอประมาณไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ด้านความมีเหตุผล นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผล โดยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง

ด้านความความมีภูมิคุ้มกัน นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตประจำวัน และนักเรียนมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองให้พอเพียงที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ภายในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

ด้านการวัดและประเมินผล นักเรียนมีความเห็น ความเข้าใจเกี่ยวการวัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตัวผู้เรียนให้เหมาะสมกับการเรียนและการใช้ชีวิต

แนวทางส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง คือ

ครูผู้สอนควรมีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมเป็นรายปี หรือเป็นรายภาคการศึกษา รวมถึงต้องมีการวางแผนจัดกิจกรรมมีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีความเหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน และควรจะบรรจุแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในแผนการเรียนการสอนของหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นนั้นต้องสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้จ่าย หรือการใช้ชีวิตที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และตนเอง นอกจากนี้โรงเรียนควรจะจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าร่วม และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทางโรงเรียน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕