หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระชาญ ฐานธมฺโม
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระชาญ ฐานธมฺโม ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี ผศ.ดร. ป.ธ.๙., กศ.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙, ศษ.บ., ศศ.ม., (บริหารอุดมศึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบริบทของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดนครสวรรค์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและรูปแบบในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู  และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน จำนวน ๖๘๕ รูป/ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม(Mixed Research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)  และแบบสัมภาษณ์ (In-depth Interview form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัย พบว่าส่วนมากผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ในระดับปานกลางเป็นจำนวน ๑๙ ข้อ ในจำนวนข้อสอบถามทั้งหมด ๒๐ ข้อ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๐๐ มีเพียง ๑ ข้อ ก็คือข้อที่ ๑๘ ที่กล่าวว่าท่านมีส่วนร่วมในการเงินการบัญชีพัสดุสินทรัพย์ของโรงเรียนปริยัติธรรมเพียงใด ที่มีระดับความคิดเห็นน้อย ส่วน ข้อที่ผู้ตอบให้คะแนนมากที่สุด คือข้อที่ ๑๔ ที่กล่าวว่า ท่านมีส่วนในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการโรงเรียนปริยัติธรรมเพียงใด   ( = ๒.๗๘)  เป็นการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล

เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ แจกแจงตามเพศ พบว่า t-test ของข้อที่ ๓ ข้อที่ ๙ ข้อที่ ๑๑ ข้อที่ ๑๒ ข้อที่ ๑๕ ข้อที่ ๑๗ และข้อที่ ๒๐ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ มีเพียงข้อที่ ๑๙ ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑ แสดงว่าข้อของเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารโรงเรียนปริยัติธรรมมีเพียง จำนวน ๘ ข้อ ในทั้งหมด ๒๐ ข้อ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ ดังนั้นจึง ปฏิเสธสมมติฐานข้อที่ ๑ ที่ตั้งไว้

โดยสรุปการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คณะกรรมการ การศึกษาของโรงเรียนมีความพึงพอใจมากที่มีส่วนร่วมในการจัดการบริหารโรงเรียน ปัญหาที่สำคัญคือเวลาการประชุม สภาพเศรษฐกิจของชุมชน คุณวุฒิการศึกษาของคณะกรรมการ ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียน คือ ความรู้ความสามารถของคณะกรรมการ อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการขาดงบประมาณ ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนกับชุมชนรวมถึงตัวนักเรียนเองที่ขาดการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นผู้ปกครองของนักเรียนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับการติดตามผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่าขาดการติดตามผลการปฏิบัติงานใน ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ปัจจัยที่ค้นพบอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อสมาชิกในคณะกรรมการสถานศึกษา คือคณะกรรมการฝ่ายประชาชน มีรายได้น้อย ดังนั้นคณะกรรมการสถานศึกษาที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาที่ไม่ขาดประชุมเป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนมี ๘ ระดับ เป็นพันธกิจ ๔ ประการ และเป็นการปฏิบัติตามภารกิจ และรายงานผลอีก ๔ ประการ

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕