หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กาญจนา พิมพ์สุข
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ ในการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑
ชื่อผู้วิจัย : กาญจนา พิมพ์สุข ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน. ปธ.๕ , พ.ม., กศ.บ.(ประวัติศาสตร์)อ.ม.(บาลี-สันสกฤต).Ph.D.(Sanskrit)
  ดร.ประยูร แสงใส. ปธ.๔, พ.ม., พธ.บ.,P.G.Dip.In Journalism.,M.A. (Ed), Ph.D.(Ed).
  ดร.สัมฤทธิ์ กางเพ็ง .ศษ.ด.(การบริหารการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ (๑)เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ในการบริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑(๒)เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม๖ในการบริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล(๓)เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ ในการบริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  ๓๖๐คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าความถี่ ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ใช้การทดสอบด้วยค่าที (t-test independent)และการทดสอบเอฟ (F-test) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s)แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ในการบริหารสถานศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิธี

 

ผลการศึกษาพบว่า

การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ ในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของ

ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า  ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านสีลสามัญญตาด้านทิฏฐิสามัญญตาด้านสาธารณโภคีด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านเมตตากายกรรมตามลำดับ 

 

การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ในการบริหารสถานศึกษา ตาม

ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑ จำแนกตาม ตำแหน่ง พบว่าโดยภาพรวม และรายด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน  จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน  โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม ๖ ในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต ๑  ควรส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีในสถานศึกษา โดยเฉพาะการเคารพซึ่งกันและกันความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน ความสามัคคี  ความประพฤติสุจริตดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สร้างขวัญและกำลังใจ การแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อหน้าที่ช่วยเหลือผู้ร่วมงานด้วยความเต็มใจแสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ในการทำงานร่วมกันในสถานศึกษาอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕