หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายทองเปลว ทองบ้านเกาะ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของนักการเมืองแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : นายทองเปลว ทองบ้านเกาะ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ.ดร. ป.ธ.๓,พธ.บ.,พธ.ม.Ph.D.(Phil)
  รศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน ป.ธ.๕,พ.ม.,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.(Phil)
  ดร.วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ.๖,พธ.บ.,ศษ.บ.,M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์  มีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดจริยธรรมนักการเมืองทั่วไป ๒.เพื่อศึกษาจริยธรรมการเมืองแนวพุทธปรัชญาเถรวาท  และ ๓.เพื่อวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรมนักการเมืองในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท      

ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ เรื่องแนวคิดจริยธรรมการเมืองทั่วไป พบว่า  ปัญหาโครงสร้างการเมืองทั้งในระดับพรรค   สังคม  มีผลทำให้นักการเมืองขาดความรู้(วิชชา)ขาดสำนึกทางสังคม(จรณะ,จรรยาบรรณหรือความรับผิดชอบ) ขาดภาวะผู้นำ(วิชชา+จรณะ)  นำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน การคอรัปชั่น ขัดแย้ง  ก่อปัญหาวิกฤตจริยธรรมจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในทางการเมืองและสังคม  ซึ่งปัญหาทุกประเด็นล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน     

ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ จริยธรรมนักการเมืองตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทพบว่า จริยธรรมนักการเมืองแนวพุทธซึ่งเป็นตัวแทนสาธารณชนที่อาสาไปจัดสรรปันส่วนรักษาผลประโยชน์และกระจายผลประโยชน์แก่คนในสังคมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม  จริยธรรมจึงเป็นคุณสมบัติของนักการเมืองเพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียงหรือปราศจากมีอคติ ในแง่หนึ่งนักการเมืองที่มีจริยธรรมจะต้องทำงานอาสาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและเห็นแก่ตัวน้อยที่สุด  ซึ่งตามกรอบแนวคิดจริยธรรมนักการเมืองแนวพุทธปรัชญาเถรวาทจะต้องมีเบญจศีล และเบญจธรรม เป็นต้น         

ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ วิเคราะห์ปัญหาจริยธรรมนักการเมืองในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่าแนวทางการพัฒนานักการเมืองให้มีคุณภาพตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท จะต้องเป็นคนดีและมีคุณภาพ  ปฏิบัติตนหรือวางตนอยู่ใน ความซื่อสัตย์ สุจริต ทั้งวาจา ใจ และการกระทำ  เที่ยงธรรม เป็นกลาง  มีสัจจะ รักษาคำพูด พูดจริง ทำจริง และมีความจริงใจ   รับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าทีการงานเพื่อส่วนรวม เสียสละประโยชน์ตนเพื่อส่วนรวม เคารพและปฏิบัติตามมติส่วนรวม เคารพที่ประชุม และรักษาความสงบของที่ประชุม หลีกเลี่ยงอบายมุขและหมั่นประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕