หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายวีระ ถาจ
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์
ชื่อผู้วิจัย : นายวีระ ถาจ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ,ผศ.ดร. ป.ธ.๓,พธ.บ.,พธ.ม.,Ph.D.(Phil)
  ดร.แสวง นิลนามะ ป.ธ.๗,พธ.บ.,พธ.ม.(ปรัชญา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร.กฤษณะภูมิ สุขศรีเกษม B.A.,M.A.,Ph.D.(Phil)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์”  มีวัตถุประสงค์หลัก    ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาต้นแบบปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์  ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์ และ๓)เพื่อวิเคราะห์รูปแบบปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์ที่มีอิทธิพลต่อประเทศเวียตนาม

ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อแรกพบว่า  แนวคิดทฤษฎีทางปรัชญาการเมืองของ คาร์ล มาร์กซ์ และวิธีปฏิบัติการแบบเลนิน   ได้เป็นต้นแบบที่มีอิทธิพลต่อปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์

ผลการวิจัยในวัตถุประสงค์ข้อสองพบว่า บริบทสังคมและทางการเมืองในเวียตนามส่งผลให้แนวคิดปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์มีเอกลักษณะเฉพาะตัว คือเน้นการปฏิวัติเวียตนามด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เน้นการกอบกู้ ปลดปล่อย สถาปนารัฐชาติ โดยย้ำให้ผู้ปกครองเป็นต้นแบบที่ดีงามในด้านคุณธรรมจริยธรรม ๕  ประการ  รักประเทศชาติ  รักประชาชน   เรียนเก่งทำงานเก่ง  รักษาอนามัยดี มีวินัยดี ซื่อสัตย์กล้าหาญ เป็นต้น

ผลการวิจัยในวัตถุประสงค์ข้อสามพบว่า  เมื่อวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์แล้วได้เห็นอิทธิพลแนวคิดอุดมการณ์แบบมาร์กซ์และวิธีการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมจากเลนิน ทำให้ปรัชญาการเมืองของโฮจิมินห์มีเสน่ห์และโดดเด่นเฉพาะ จนส่งผลให้เวียตนามมีความเคารพรัก โฮจิมินห์จนเป็นรากฐานของการเรียนรู้มิติต่างๆ ในประเทศผ่านนโยบายการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ   สังคม การเมือง การปกครองที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิดปรัชญาสังคมและการเมืองของโฮจิมินห์ส่งผลให้ประเทศเวียตนามได้รับเอกราช พัฒนาเป็นปึกแผ่น และโดดเด่นในเวทีโลกปัจจุบันในหลายมิติ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕