หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญโชค กิตฺติสาโร (คำภีระ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๙ ครั้ง
ประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวงอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญโชค กิตฺติสาโร (คำภีระ) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๕/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ            ต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  จำนวน ๓,๖๕๕ คน
ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๖๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหาร         ส่วนตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)         และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ              (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = ๔.๓๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า       อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน มีเพียงด้านการบริหารการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (  = ๔.๕๕) ด้านการบริหารการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว (  = .๔๑) ด้านการบริหารการอนุรักษ์ฟื้นฟูศาสนาศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (  = ๔.๓๗) ด้านการบริหารการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม (  = .๒๗) ด้านการบริหารการพัฒนาองค์กรและบุคลากรภาครัฐสู่การบริหารจัดการที่ดี (  = .๒๓) และด้านการบริหารการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (  = .๒๐)

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕

               ๓) ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สามารถสรุปได้ดังนี้ หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและสถานการณ์ในแต่ละองค์การ แต่ที่สำคัญได้ยึดถือมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนต้องรับรู้รับทราบ ร่วมกันตัดสินใจ ในฐานะเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ต้องดูแลบุคลากรให้ทำงานอย่างมีประสิทธิผล การดูแล การบริหาร การพัฒนาบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญที่จะต้องเน้นว่าให้ผู้ที่ทำงานต้องทำแผนพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของเรามีการพัฒนาตนเอง  การปฏิบัติงานให้บริการผู้มีติดต่อด้วยความเสมอภาค เป็นผู้มีความสำนึกและถือหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้การบริการด้วยความเต็มใจและเสมอภาคกันทุกระดับ มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน  การบริหารงานโดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการของส่วนรวมและประชาชน โดยคำนึงถึงการใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภค ได้อย่างประหยัดและเหมาะสม ตลอดจนร่วมมือ ช่วยเหลือและประสานงานระหว่างราชการกับประชาชนอย่างทุ่มเทและจริงใจ การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต เพราะช่วงเวลาของการทำงานในชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย การทำงานให้สนุกและเป็นสุขขณะทำงานและทำอย่างไรให้คนที่ร่วมงานมีความสุขเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารในองค์กรควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากองค์กรใดมีบุคลากรที่มุ่งมั่นทำงานให้องค์กรอย่างมีความสุข องค์กรนั้นก็จะเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕