หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ดาบตำรวจวัฒนา ภังคสังข์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : ดาบตำรวจวัฒนา ภังคสังข์ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี ผศ.ดร. ปธ.๙.,กศม.,พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A.Ph.D. (Pol.Sc)
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง ปธ.๙.,ศษ.บ.,ศศ.ม.,ปร.ด. (บริหารอุดมศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ   

 

การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔      ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด             จังหวัดนครสวรรค์  ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามสถานภาพ       ของบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการให้การบริการประชาชน             ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ไปขอรับการบริการที่สถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน  ๓๗๕  คน   ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency)  ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบค่าที (T – test) และการทดสอบค่าเอฟ (F – test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ ความแปรปรวน  ทางเดียว(One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (L.S.D) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญ  ทางสถิติที่ ๐.๐๕

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๙๑)        เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ ๔    ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =๓.๙๓) ในด้านทานและด้านสมานัตตตา ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =๓.๘๗)  ในด้านอัตถจริยา

เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้ว พบว่าบุคคลที่มีเพศและอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้การบริการไม่แตกต่างกัน            อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ สำหรับ อายุและการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการให้         การบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ปัญหาและอุปสรรคในการให้การบริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔              ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด  จังหวัดนครสวรรค์ ประชาชนที่มาขอรับบริการยังไม่เข้าใจ          ในขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ  เจ้าหน้าที่ตำรวจพูดจาไม่ไพเราะ             เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่กระตือรือร้นในการช่วยเหลือ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจเลือกปฏิบัติ ผลที่ได้คือ ประชาชน  ที่มารับการบริการไม่เกิดความประทับใจ แนวทางการปรับปรุงการให้การบริการประชาชน  ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด  จังหวัดนครสวรรค์ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรพัฒนา   ด้านการบริการอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น ควรมีการอบรมด้านคุณธรรมโดย   นำหลักธรรม  เข้ามาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะหลักสังคหวัตถุ ๔ อันได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา คือ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน และวางตัวเหมาะสม มาใช้ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ รวมทั้งเน้นการบริการที่สามารถนำมา  ซึ่งความพึงพอใจ แก่ ผู้รับการบริการและส่งผลย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการ โดยทำให้ประชาชนผู้รับบริการรู้สึกว่าประทับใจในการให้บริการสมกับคำว่า“บริการดุจญาติ พิทักษ์ราษฎร์               ดุจครอบครัว” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕