หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูไพศาลสุทธานุรักษ์ จรณสมฺปนฺโน(เถาะรอด)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๐ ครั้ง
การปกครองคณะสงฆ์โดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ของพระสังฆาธิการ อําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุร
ชื่อผู้วิจัย : พระครูไพศาลสุทธานุรักษ์ จรณสมฺปนฺโน(เถาะรอด) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ, M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ พธ.บ ป.ขส.ศศ.ม รป.ม(การจัดการ)
  อาจารย์ดร.พิเชฐ ทั่งโต พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pub. Admin.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการบริหารกิจการคณะ
สงฆ์ด้านการปกครองในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบด้านการปกครองคณะ
สงฆ์โดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ของพระสังฆาธิการ อําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี จําแนก
ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับแนวทางด้านการ
ปกครองคณะสงฆ์โดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ของพระสังฆาธิการ อําเภอท่าหลวง จังหวัด
ลพบุรี
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ(Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
พระสงฆ์ในอําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี จํานวน ๑๒๗ รูป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple
Random Sampling) จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ดําเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่
ใช้ในการเก็บรวบรวมในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที(t-test)
และค่าเอฟ(f-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way analysis of variance)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
๑) การบริหารการปกครองคณะสงฆ์ได้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธการ หลักที่ใช้ไนการบริหาร การ
ปกครองครั้งนั้น คือ พระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงปกครองคณะสงฆ์โดยธรรมาธิปไตร กล่าวคือ ทรง
แสดงธรรมและบัญญัติพระวินัย เพื่อการบริหารการปกครองคณะสงฆ์และการพระศาสนา ปัจจุบันการ
บริหารการปกครองคณะสงฆ์ เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๕ ข้อที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องการบริหาร
กิจการคณะสงฆ์ ได้แก่ หน้าที่การปกครองคณะสงฆ์ต้องถือเป็นธุระหน้าที่เพราะการที่คณะสงฆ์และการ
(๒)
ศาสนา หรือเพราะเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา มีการปกครอง ๖ ด้าน คือ การปกครอง
การศาสนศึกษา การศึกษาสงค์เคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ การสาธารณ
สงเคราะห์ เป็นต้น
๒) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุ ที่มีต่อการปกครองคณะสงฆ์โดย
การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ของพระสังฆาธิการ อําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี  จําแนกตามปัจจัย
ส่วนบุคคลโดยรวม พบว่า พระภิกษุที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางธรรม  ต่างกันมีความคิดเห็นต่อ
การบริหารการปกครองคณะสงฆ์ ในอําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนพระภิกษุที่มีวุฒิ
การศึกษาทางบาลี และวุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
โดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ แตกต่างกัน อย่างมีในสําคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕
๓) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของพระสงฆ์ใน
การปกครองคณะสงฆ์โดยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ของพระสังฆาธิการ อําเภอท่าหลวง จังหวัด
ลพบุรี นั้นพบว่า พระสงฆ์บางรูปไม่เข้าใจพระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม ขาดความรู้ความสามารถ
ในการบริหารและจัดการงานภายในองค์กร และผู้ปกครองขาดการเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร มี
ส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย วางกฎระเบียบและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางการปกครอง เพื่อเป็น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ คณะสงฆ์ยังขาดแคลนบุคลากร ทางการศึกษา และการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตลอดจนไม่มีหน่วยงาน ที่รับรองการทํางานอย่างเป็น
รูปธรรม ดังนั้น ควรจัดการอบรมพระภิกษุ สามเณร ให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติหน้าที่ให้มากยิ่งขึ้น และควรมีการกระจายอํานาจหน้าที่โดยการกระจายการปฏิบัติงานให้
ครอบคลุมทุกพื้นที่ อีกทั้งควรทํางานอย่างมีระบบเป็นแนวทางเดียวกัน และมีเครือข่ายร่วมมือกัน โดย
การใช้ความรู้ความสามารถของบุคคลากรให้เต็มศักยภาพ พัฒนาบุคคลากรให้มีความประพฤติที่
เรียบร้อยดีงามตามหลักพระธรรมวินัย มีความอดทนเสียสละทุมเทอย่างจริงจัง รวมทั้งการยกย่อง
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในกิจวัตรอย่างสม่ําเสมอ เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕