เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง |
ความคาดหวังของครูและนักเรียนต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระอธิการฉลอง ปภสฺสโร(ชมสุวรรณ์ |
ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๙/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ, M.A., Ph.D. (Pol. Sc.) |
|
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ พธ.บ ป.ขส.ศศ.ม รป.ม(การจัดการ) |
|
ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์ ปก.ศ.สูง., พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(๑) เพื่อศึกษาความคาดหวังของครูและนักเรียนต่อ
บทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน(๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียน ที่มีต่อ
ความคาดหวังของครูและนักเรียนต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์
อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ(๓) เพื่อศึกษาปัญหา
อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอ
เมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ดําเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสํารวจ(Survey Research) เก็บข้อมูล
จากประชากร ๒ กลุ่ม คือครูชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔– ๖ จํานวน ๔๒ คน และนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๔– ๖ จํานวน ๕๐๓ คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม(Questionnaire) มี ๒ ประเภท คือ
แบบสอบถามสําหรับครู และแบบสอบถามสําหรับนักเรียน ลักษณะของแบบสอบถามทั้งปลายปิด
และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย
(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation : S.D.) การทดสอบค่าที่(t-test) ค่าเอฟ
(f-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way analysis of variance)
(๒)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ความคิดเห็นของครู ที่มีความคาดหวังต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในกลุ่ม
โรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(๓.๒๒๔๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านพฤติกรรมของครูพระสอนศีลธรรม ด้านเนื้อหา
สาระในการถ่ายทอด และด้านการใช้สื่อประกอบการสอน ครบทั้ง ๓ ด้าน ผลการเปรียบเทียบ
ความคิดเห็นของครู ที่มีต่อความคาดหวังต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทอง
สัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่าง
ระหว่างตัวแปร พบว่า เพศ อายุ และตําแหน่งของครู กลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอ
เมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง แตกต่างกัน แต่มีวิทยฐานะเท่ากัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการ
วิจัยทุกข้อที่ตั้งไว้
๒) ความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทอง
สัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมของ อยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
๓.๕๒๕๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านพฤติกรรมของครูพระสอนศีลธรรม ด้านเนื้อหา
สาระในการถ่ายทอด และด้านการใช้สื่อประกอบการสอน อยู่ในระดับมากเกือบทุกด้าน ผลการ
เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อความคาดหวังของบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่ม
โรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์
ความแตกต่างระหว่างตัวแปร พบว่า เพศ และอายุ มีผลให้ความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อบทบาท
พระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง แตกต่าง
กัน จึงเป็นการสมมติฐานการวิจัยทุกข้อที่ตั้งไว้
๓) ข้อเสนอแนะ ที่มีต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในกลุ่มโรงเรียนเมืองทองสัมพันธ์
อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง คือ พระสอนศีลธรรมควรจัดทําแผนการเรียนการสอนที่
ชัดเจน และสามารถนําไปปฏิบัติได้จริง สอนให้ตรงกับสาระเรียนรู้ และควรใช้สื่อการสอนความรู้เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ดาวน์โหลด |
|
|