หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายธนวัสน์ คงสระบัว
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๘ ครั้ง
ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธศาสนาของผู้นำชุมชนตาม ความคิดเห็นของประชาชน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นายธนวัสน์ คงสระบัว ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D.
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๑ - ๒, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ว่าที่ ร.อ.ดร.สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล ธ.ศ.เอก, วท.บ., ศศ.บ., บธ.ม.,ศศ.ม., Ph.D.(Soc.Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๓
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของผู้นำชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ตามความคิดเห็นของประชาชน  ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของผู้นำชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้นำชุมชนที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๔๒๐ ชุด แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ โดยการหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๕ ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที  (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

                  ผลการวิจัย พบว่า 

              ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธศาสนา ของผู้นำชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ปริสัญญุตา ธัมมัญญุตา อัตถัญญุตา มัตตัญญุตา อัตตัญญุตา กาลัญญุตา และปุคคลัญญุตา

              การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธศาสนา ของผู้นำชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีเพศที่ต่างกัน มีความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธศาสนา ของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ สถานภาพทางครอบครัว อาชีพ อายุงาน วุฒิการศึกษา และรายได้ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพุทธศาสนา ของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑ และ .๐๕

              ปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พบว่า บางครั้งผู้นำไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด งานบางอย่างมีความสลับซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ บางครั้งมีการใช้อารมณ์ส่วนตัวมารวมกับการทำงาน ยังมีการติฉินนินทา บางทีมีการก้าวก่ายการทำงานของคนอื่น สำหรับผู้เริ่มเข้าทำงาน จะมีการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานค่อนข้างยาก มีการนำของส่วนรวมไปใช้ส่วนตัวบ้าง บางทีการจัดสรรงบประมาณเกินความจำเป็นต่อการบริหาร การทำงานบางครั้งไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าจึงการสับสนในขั้นตอนการทำงาน บางทีเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน ผู้บริหารไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยังตอบสนองความต้องการของชุมชนไม่ทั่วถึง การช่วยเหลือชุมชนบางครั้งยังตอบสนองความต้องการได้ไม่เต็มที่ บางครั้งการมอบหมายงานยังไม่ตรงกับความสามารถ และบางครั้งบรรยากาศในการทำงานดูตึงเครียดเกินไป

              ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พบว่า ควรส่งเสริมให้ผู้นำสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด งานใดที่มีความสลับซับซ้อน ควรมีคู่มือ และคำอธิบายให้ชัดเจน ไม่ควรนำอารมณ์ส่วนตัวมาใช้ร่วมกับการทำงาน ควรกล่าวแต่สิ่งที่ดีของผู้อื่น ควรปฏิบัติภายใต้ขอบเขต และภาระหน้าที่ของตน พยายามดูแลผู้เริ่มเข้าทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย ไม่ควรนำของส่วนรวมไปใช้ส่วนตัว ควรจัดสรรงบประมาณให้พอดีกับความจำเป็นในการบริหาร มีการวางแผนการทำงานอยู่เสมอ เพื่อมิให้เกิดการสับสนในขั้นตอนการทำงาน ผู้บริหารควรฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอ ๆ ควรตอบสนองความต้องการของชุมชนให้ทั่วถึงกัน ควรช่วยเหลือชุมชนตามความต้องการของชุมชนนั้น โดยการสอบถามความต้องการที่แท้จริงในแต่ละชุมชน ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถ และควรสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดเกินไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕