หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประภัสร์มโนธรรม (ธงทิพย์ ปภสฺสโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประภัสร์มโนธรรม (ธงทิพย์ ปภสฺสโร) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม., รป.ม.
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Public. Admint.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม”เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ            ๑) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม และ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรที่เป็นชาวไทยทรงดำ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๖๔ คน โดยทำการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ (Area Sampling) แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)  ทดสอบสมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ๒ ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันและค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)  นอกจากนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ (Interview) โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๕ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘

๒. ผลการเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ผลการสัมภาษณ์ พบว่า พระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำโดยนำวัฒนธรรมไทยทรงดำนั้นมาประยุกต์ให้เข้ากับพระพุทธศาสนา และนำมาเผยแพร่แก่สังคมได้เป็นอย่างดี ซึ่งพระสงฆ์นั้นนำวัฒนธรรมที่มีอยู่กับชนไทยทรงดำแต่ดั้งเดิมนำมาใช้เข้ากับยุคปัจจุบันได้ดีมาก ทั้งนี้ถือเป็นการอนุรักษ์ให้สืบต่อไปแก่ชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยทรงดำตลอดไป

๔. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม พบว่า ควรอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำอย่างจริงจัง เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงออกได้ดีที่สุดของมนุษย์ ทั้งนี้วัฒนธรรมที่อนุรักษ์นั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่อาจนำสิ่งอื่นที่นำสมัยและมีประโยชน์เข้ามาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมนั้นให้ถูกต้อง จะได้มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕