หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดมนู รตนโชโต (ไตรยโชติ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดมนู รตนโชโต (ไตรยโชติ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  ผศ.ดร. เติมศักดิ์ ทองอินทร์ พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  อาจารย์ ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ., ร.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (๒) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ (๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระสังฆาธิการและพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๗๑ รูป โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิดและปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ  ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ (Interview)

ผลการวิจัยพบว่า

                   ๑. การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านวิชาการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๙ รองลงมาได้แก่ ด้านบริหารงานบุคคล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๐ และ ด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๖ ตามลำดับ

                   ๒. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพส่วนบุคคล คือ ตำแหน่ง มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ สถานภาพส่วนบุคคล คือ วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาสามัญ มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตังไว้

                   ๓. ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามรายด้านของการวิจัย ดังนี้

                       ๓.๑ ด้านวิชาการ : ควรสร้างศรัทธาแก่เยาวชนให้มองเห็นคุณค่าของหลักธรรมและวิชาการทางพระพุทธศาสนา, ควรจัดซื้อ จัดสร้าง สื่อการเรียนรู้ที่สามารถเร้าความสนใจแก่ผู้เรียนได้ และ ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสเขียนแผนการสอนร่วมกับครูประจำการ

                       ๓.๒ ด้านงบประมาณ : ควรสรรหางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม โดยอาจขอความสนับสนุนจากหน่วยงานราชการอื่น เช่น หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแก่เยาวชน หรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ ควรระดมทุนเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้เครือข่ายของคณะสงฆ์ในระดับตำบลและอำเภอ ตามที่แต่ละโรงเรียนตั้งอยู่

                       ๓.๓ ด้านบริหารงานบุคคล : ควรจัดครูพี่เลี้ยงประจำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ที่เข้าไปจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และ ควรสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของพระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาของแต่ละโรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนวัตกรรมทางการศึกษา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕