หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระภานุมาตร์ พฺรหฺมปญฺโ (เนโส)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระภานุมาตร์ พฺรหฺมปญฺโ (เนโส) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ. M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., (เกียรตินิยมอันดับ ๑)ศศ.ม., รป.ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง “บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในประเทศไทย ๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม

ผู้วิจัยได้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Oualitative Research) ซึ่งใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) จำนวน ๑๖ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

 ๑. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำวัตถุมาจัดแสดง  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของคนในแต่ละสังคม แต่ละท้องถิ่น เกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และเป็นการแสดงให้คนต่างท้องถิ่นให้เกิดความรู้  ความเข้าใจถึงความเป็นมาของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอย่างถูกต้อง  ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและผสมผสานเข้ากับงานศิลปกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างดียิ่ง พระสงฆ์ให้ความสนใจและเอาใจใส่ มีความกระตือรือร้นที่จะอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าของศิลปะพื้นบ้านในอดีต ที่สำคัญศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถานและโบราณวัตถุ ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของเราตั้งแต่อดีต เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์สิ่งของเหล่านี้ให้อยู่ต่อไป ตราบรุ่นลูกรุ่นหลาน

๒. การอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านในจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีพระสงฆ์บางส่วนเท่านั้นที่เข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าอาวาสหรือพระลูกวัด รุ่นเก่า ๆ ที่ยังคงอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์ พระสงฆ์สมัยใหม่ไม่ค่อยเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์เท่าที่ควร เนื่องจากพระสงฆ์ในปัจจุบันมีจำนวนน้อยลง ตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ ส่วนมากจะเน้นหนักไปทางวิทยาศาสตร์มากกว่า

๓. การพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนั้น  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ผูกติดกับวิถีชีวิตและประเพณีความเชื่อดั้งเดิม  พิพิธภัณฑ์จะต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา  การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ดีนั้น   มิใช่เพียงนำข้าวของเครื่องใช้มาจัดแสดงหรือจัดการตามความพึ่งพอใจ  แต่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย  ทั้งคนในท้องถิ่นและผู้นำชุมชนนั้นๆ  ที่สามารถเป็นตัวแทนหรือสืบทอดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม  พิพิธภัณฑ์จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี  เช่น  ด้านการบริหารบุคลากร การบริหารงบประมาณ  การบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ให้คงอยู่สืบต่อไป

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕