หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาถาวร ถิรจิตฺโต(จิตรกระเนตร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาถาวร ถิรจิตฺโต(จิตรกระเนตร) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. สุรพลสุยะพรหม, พธ.บ.,M.A.,Ph.D.(Pol.Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ.,พธ.บ.,ศศ.ม.,รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ประสิทธิ์ ทองอุ่น, พธ.บ., M.Ed.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ(๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ๒๘๗รูปเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๖๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (Ftest) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Anova)

 

ผลการวิจัย พบว่า

              ๑. ระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = ๓.๖๐) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าพระภิกษุสงฆ์ มีความเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = ๓.๗๐)  ในด้านการดูแลรักษาโบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =๓.๔๘) ในด้านความร่วมมือในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ กับหน่วยงานราชการ

              ๒.ผลการเปรียบเทียบระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญวุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาเปรียญธรรมของผู้ตอบแบบสอบถามต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

              ๓. ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งแบ่งสาเหตุของปัญหาและอุปสรรคได้ดังนี้

                   ๓.๑กรมศิลปกรควรที่จะช่วยเหลือพระสงฆ์ซึ่งทำหน้าที่ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                   ๓.๒ พระสงฆ์ควรช่วยเหลือกันที่จะปกป้องดูแลรักษาโบราณสถาน  โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ โดยไม่ต้องรอแต่ประชาชนให้มาช่วยเพียงอย่างเดียว

                   ๓.๓ ชาวพุทธควรช่วยกันช่วยเหลือพระสงฆ์ในการสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุภายในวัดตน

 

              ๔. ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสรุปได้ดังนี้

                   ๔.๑. ในการบูรณะโบราณสถาน ให้เสริมเฉพาะความมั่งคงแข็งแรงของโบราณสถาน พยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงและการทำลายโบราณสถาน

                   ๔.๒. ในการบูรณะโบราณสถานที่จะทำเพื่อความงาม และเอกภาพทางสถาปัตยกรรมจะต้องคำนึงถึงโบราณสถานที่เหลืออยู่ อย่าอาศัยการสันนิษฐาน และต้องศึกษาจากส่วนที่เป็นของแท้ดั้งเดิม ไม่ใช่จากส่วนที่ต่อเติมขึ้นภายหลัง

                   ๔.๓. ในการบูรณะโบราณสถานที่เก่าแก่มาก จนหาความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมสมัยใหม่ไม่ได้ ไม่ควรจะต่อเติม ควรจะใช้วิธีรื้อและทำรากฐานให้มั่นคง และประกอบเข้ารูปเดิม คือ การเอาส่วนที่แตกหลุดไปแล้ว แต่ยังหาพบได้ในบริเวณนั้นมาประกอบให้เป็นรูปเดิม ถ้าจำเป็นต้องต่อเติมก็ให้ทำเพื่อการทรงตัวหรือเพื่อความแข็งแรงเท่านั้น

                   ๔.๔. การบูรณะโบราณสถานรุ่นใหม่ ควรใช้วิธีการรักษาให้คล้ายของเดิม และการบูรณะไม่ควรจะไปเปลี่ยนรูปร่างของโบราณสถานนั้นๆ

                   ๔.๕. ชิ้นส่วนวัตถุทุกชิ้นที่มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นของยุคใดสมัยใด เมื่อค้นพบควรจะเก็บรักษาไว้อย่างดี การจะพิจารณาว่าชิ้นส่วนวัตถุชิ้นใดมีความสำคัญเพียงใด ไม่ควรจะเป็นความเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามโครงการบูรณโบราณสถานแต่ผู้เดียว

                   ๔.๖. สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถาน ควรระวังไม่ให้ขนาด สี และแบบไปทำลายคุณค่าของโบราณสถานนั้นๆ

                   ๔.๗. การต่อเติมที่จำเป็นต้องทำ เพื่อความแข็งแรงของโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นเพียงบางส่วน หรือทั้งหมด ควรต่อเติมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ การสร้างใหม่หมดจะทำได้กับโบราณสถานที่มีทรงเรขาคณิตเรียบๆ และไม่มีลวดลายตกแต่งเท่านั้น

                   ๔.๘. การต่อเติมที่ทำขึ้นใหม่ จะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยการใช้วัสดุแตกต่างกับของเดิม หรือโดยการต่อเติมเพียงคร่าวๆ ไม่มีลวดลายเช่นของเดิมหรือโดยการทำเครื่องหมายบอกไว้ก็ได้ การทำดังกล่าวทั้ง ๓ ประการ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการบูรณะโบราณสถานครั้งต่อไปแล้ว ยังทำให้ไม่เกิดการเข้าใจผิดในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอีกด้วย

                   ๔.๙. การเคลื่อนย้ายของเก่าออก และเอาของใหม่เข้ามาแทนที่ ควรทำโดยอาศัยหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้าช่วย ไม่ควรทำโดยไม่มีหลักฐานทฤษฎี

                   ๔.๑๐. ของที่ได้จากการขุดค้นและการสำรวจทางโบราณคดี ต้องดูแลรักษาอย่างดีและอย่างถูกต้อง

                   ๔.๑๑. การบูรณะโบราณสถานแต่ละครั้งก็เช่นเดียวกับการขุดค้นทางโบราณคดีควรทำเอกสารในรูปของรายงานทางวิชาการ ซึ่งรวบรวมจากบันทึกรายวันของการบูรณะโบราณสถานมีภาพวาดและภาพถ่ายประกอบ รายงานทางวิชาการดังกล่าว ควรบอกโครงสร้างและรูปร่างของโบราณสถานอย่างละเอียด รวมทั้งการปฏิบัติงานทุกระยะของการบูรณะโบราณสถานด้วย

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕