หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดสมควร อธิปุญฺโญ (วงค์วรรณ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
การบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดสมควร อธิปุญฺโญ (วงค์วรรณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม., รป.ม.
  ผศ.ประสิทธิ์ ทองอุ่น พม., พธ.บ., M. Ed.,
วันสำเร็จการศึกษา : . ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาคร  (๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาคร และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากที่เป็นพระสงฆ์และสามเณรที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน ๒๓๒ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม  (Questionnaire)  วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)  และใช้การทดสอบด้วยค่าสถิติไคสแควร์ ( ) สำหรับหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๒. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสมุทรสาครนั้น พบว่าพระสงฆ์ที่มีตำแหน่ง/หน้าที่ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก และวุฒิการศึกษาทางธรรม มีความสัมพันธ์กันซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยทุกข้อที่ตั้งไว้

๓. ผลการสัมภาษณ์ พบว่า การเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี เป็นความจำเป็น เพราะผู้เรียนจะได้ความรู้พระธรรมวินัย ได้ปฏิบัติตามคำสอนให้ถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติการสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตามได้ด้วย ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง สำนักเรียนบาลีประจำจังหวัดยึดหลักบริหารจัดการที่ว่า ทุกคนมีส่วนร่วมและมีส่วนสำคัญในการจัดการการศึกษา ทั้งฝ่ายคณะผู้บริหาร และฝ่ายผู้เรียน จะต้องร่วมกันพัฒนาศักยภาพตามขีดความสามารถ ต้องร่วมแรงและร่วมใจกันรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ ตัวเองรับผิดชอบ เมื่อถึงวาระการประชุมตามเกณฑ์ที่วางไว้ ทุกฝ่ายจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อให้รู้ข้อบกพร่อง วางแผนแก้ไข และพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

๔. ปัญหา อุปสรรค คือ ขาดความดูแลเอาใจใส่จากเจ้าคณะพระสังฆาธิการชั้นปกครองสูงสุด ที่สำนักเรียนบางสำนักเรียนสามารถดำรงอยู่ได้ ก็เพราะเจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลและจัดสรรงบประมาณมาให้ใช้จ่าย และจัดการศึกษาด้วยศรัทธาของเจ้าอาวาสและคณะครูสอน

          ข้อเสนอแนะ พระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสาคร ควรเยี่ยมเยือนดูแลสำนักเรียน ให้คำแนะ นำและข้อคิดถึงการเรียนว่าดีมีประโยชน์ ให้กำลังใจเจ้าอาวาสและครูสอน ช่วยหาทุนรอนมาสนับสนุน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕