หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการสุรินทร์ ฐานวโร (นราแหวว)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๐ ครั้ง
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการสุรินทร์ ฐานวโร (นราแหวว) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สิน งามประโคน พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ คือ ๑)  เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  อำเภอไทรน้อย  จังหวัดนนทบุรี  ๒)  เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  อำเภอไทรน้อย  จังหวัดนนทบุรี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ที่กำลังศึกษาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี  จำนวน  ๓๙๓  คน           การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์   ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลของการวิจัยพบว่า   

ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ทั้ง ๕ ด้าน  ดังนี้

ด้านหลักสูตร ควรให้นักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อที่จะทำให้หลักสูตรนั้นเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนมากที่สุด รวมถึงเนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษาน้อยมาก

ด้านการเรียนการสอน มีความทันสมัย และเป็นปัจจุบันน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาเก่า ที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนไม่สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบันได้

ด้านสื่อการเรียนการสอน ขาดการนำผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยในการผลิตสื่อสำหรับการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา

ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนน้อย

ด้านการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนของนักเรียนตามสภาพเป็นจริงนั้นน้อยมาก

แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คือ

๑.  ควรจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนของโรงเรียนในแต่ละระดับชั้น และเหมาะสมกับวัย

๒. ควรจัดการเรียนการสอนอย่างมีแผนการสอนที่ชัดเจนเพื่อให้นักเรียนใช้ศึกษาต่อได้

๓.  สื่อการสอนควรมีหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อและมีการใช้เทคโนโลยีประกอบการสอน

๔.  กิจกรรมการเรียนการสอนควรใช้แหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ เช่น สถานที่  สำคัญ ๆ  ทางพระพุทธศาสนา

๕.  การวัดและประเมินผล ควรวัดให้หลากหลายวิธี และแจ้งผลการสอบให้เร็ว เพื่อให้นักเรียนได้ปรับปรุงตนเอง และสามารถนำผลการเรียนไปเทียบผลการเรียนที่โรงเรียนประจำได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕