หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพิศาล ปภสฺสโร (อนัตย์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระพิศาล ปภสฺสโร (อนัตย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร. ป.ธ.๙., กศ.ม., พธ.ด., (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙., ศษ.บ., ศศ.ม., ปร.ด., (บริหารอุดมศึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ๒) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๔๖๒ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) หากพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และสรุปข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้โดยการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

 

 

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (  =.๔๑) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (  =.๕๗) ส่วนด้านที่เหลือมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

นักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ (t = -๓.๖๙๗, Sig = ๐.๐๐๐) ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

นักเรียนที่มีระดับชั้นธรรมศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรจัดหาตำราเรียนในแต่ละวิชาให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน และจัดหาสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆที่มีความเหมาะสมเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรตระหนัก    ถึงความสำคัญในการจัดสรรเวลาสำหรับการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาโดยเฉพาะ ๓. พระภิกษุผู้สอนควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการเข้าสอนหลักสูตรธรรมศึกษาให้มากขึ้น ๔. หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาศักยภาพพระภิกษุผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ๕. ควรจัดให้มีการอบรมพระภิกษุผู้สอนในด้านการใช้หลักสูตร ตลอดจนการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ๖. ควรสนับสนุนส่งเสริมให้พระภิกษุผู้สอนได้รับการอบรมวิธีการสอนและเทคนิคใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และศักยภาพของผู้เรียน ๗. ควรจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อการสอน ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน และควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เหมาะสมกับความสนใจผู้เรียน ๘. ควรจัดอบรมให้พระภิกษุผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวัดและประเมินผล รวมทั้งการสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลเพื่อให้การวัดและประเมินผลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕