หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางนิลุบล น้อยวงษ์
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังของวัดสระบัวแก้ว บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้องจังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : นางนิลุบล น้อยวงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, ดร. พธ.บ.(ศาสนา), ศศ.ม. (ปรัชญา), Ph.D. (Soc.Sci.)
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A.( Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร.ประยูร แสงใส, ป.ธ.๔.,พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed.) P.G.Dip.in Journalism, Ph.D. (Ed.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยกับพระพุทธศาสนา เพื่อความเชื่อที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดสระบัวแก้ว บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดสระบัวแก้วต่อชาวบ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น และนำผลจากการศึกษาไปเป็นข้อมูลทางวิชาการด้านจิตรกรรมฝาผนัง เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสาร ตลอดจนสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา

                      ผลการศึกษา จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการสอนธรรมะแก่บุคคลโดยผ่านกระบวนการภาพหรือการเขียนตามฝาผนังสิมหรือโบสถ์ ทั้งนี้ โดยสอดแทรกหลักพุทธธรรมต่างๆ ไว้ซึ่งขึ้นอยู่กับช่างผู้เขียนจะนำมาเขียน เช่น ความสันโดษ ความกตัญญู หลักการปกครอง แต่จะไม่นิยมอธิบายเป็นภาษาคำพูดที่ยาวจะกล่าวเพียงสั้นๆ ว่าภาพแต่ละภาพสื่อสารถึง

                     ความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะ และรูปแบบเป็นกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการสั่งสอนศีลธรรม ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา แสดงวิถีชีวิตคนในท้องถิ่นให้ความรู้ ให้คติเตือนใจ และความเพลิดเพลิน ทำให้คนดูเกิดอรรถรสและจินตนาการซึ่งต่างไปจากการฟัง

                      จิตรกรรมฝาผนังวัดสระแก้ว บ้านวังคูณ จัดได้ว่า เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในด้านต่างๆ คือ  คุณค่าด้านคติธรรม เช่น สอนให้คนรู้จักประกอบกรรมดีละเว้นจากกรรมชั่ว สอนให้รู้จักการเสียสละสิ่งของเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่เห็นแก่ตัวหรือเอารัดเอาเปรียบต่อสังคม ไม่ทำลายคนอื่น รู้จักการปกครองตนเองอย่างมีคุณธรรมตามหลักทศพิธราชธรรมในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก นอกจากนั้น  บุคคลพึงรู้จักถึงคุณค่าต่อประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง เช่น ประเพณีทำบุญผะเหวต  บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษาและบุญกฐิน เพื่อเสริมสร้างความดีให้แก่ตนและช่วยเหลือจรรโลงสังคมชาวพุทธให้อยู่ยืนมั่นคง คุณค่าต่อสังคมและชุมชนบ้านวังคูณ คือ ทำให้ชาวบ้านรู้จักรักใคร่สมัครสมานสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันในการทำบุญแต่ละอย่างนั้น  ทำให้ชาวบ้านรู้จักคุณค่าด้านสุนทรียภาพ เช่น ภาพสวยงามวิจิตรแฝงด้วยคติธรรมต่างๆ สอนใจแก่ผู้ได้เข้าไปดูชมและมีคุณค่าต่อจิตใจเป็นอย่างยิ่ง

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕