หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวทิพย์ขจร ฉายาสกุลวิวัฒน์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
ศึกษากระบวนการจิตอาสาตามหลักพระพุทธศาสนาของเจ้าหน้าที่เสถียรธรรมสถาน
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวทิพย์ขจร ฉายาสกุลวิวัฒน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท,ผศ. ดร.B.A.(Edu.), B.A.(Eng.),M.A. (Clinical Psychology), Ph.D.(Industrial Psychology)
  ผศ.ดร. ประยูร สุยะใจ ป.ธ.๓, พธ.บ.(จิต), B.J.(Jou.) กศ.ม.(จิต)M.A.(Psy.), M.A.(Pol.), M.A.(Eco.), Ph.D. (Psy.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏีจิตอาสาตามหลักพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษากระบวนการจิตอาสาของเจ้าหน้าที่เสถียรธรรมสถาน (๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนาของเจ้าหน้าที่เสถียรธรรมสถาน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี กระบวนการจิตอาสา ผู้วิจัยได้ศึกษาเนื้อหาตามหลักพระพุทธศาสนา การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องใน ๔ กิจกรรมของเสถียรธรรมสถาน จำนวน ๘ ท่าน

การวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีจิตอาสาตามหลักพระพุทธศาสนามีการนำหลักพุทธธรรมมาเกื้อหนุนกัน แบ่งออกเป็น๕หมวด คือ () หลักธรรมของผู้นำจิตอาสา ได้แก่
สังคหวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔ สัปปุริสธรรม ๗ และทศพิธราชธรรม
(๒) หลักธรรมขององค์กร ได้แก่สัปปายะ ๗ (๓) หลักธรรมของบุคคลในองค์กร ได้แก่ ทาน กัลยาณมิตรธรรม ๗ ภาวนา และ จาคะ (๔) หลักธรรมของการอยู่ร่วมกัน ได้แก่ สาราณียธรรม ๖ สัมมาวาจา ปิยวาจา และ อริยวินัย (๕) กระบวนการสร้างจิตอาสาตามหลักพระพุทธศาสนา

การศึกษากระบวนการจิตอาสาตามหลักพระพุทธศาสนาของเจ้าหน้าที่เสถียรธรรมสถาน มี ๔ ประเด็น คือ () ผู้นำ () วัฒนธรรมองค์กร () สถานที่ () วิถีชีวิตชุมชน ซึ่งเป็นการทำงานในโครงการที่เกิดจากการหลอมรวมหลักพุทธธรรมที่นำไปสู่การให้ ช่วยเหลือ เกื้อกูล แบ่งปัน บรรเทาทุกข์ ผ่านโครงการของเสถียรธรรมสถาน ซึ่งประกอบด้วยงานอาสาจัดสถานที่ งานสื่อกระจายเสียง งานครัว งานจัดสวน งานแม่บ้านซึ่งกระจายอยู่ในโครงการต่างๆ ๔ โครงการดังนี้ () โครงการศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา () ธรรมชาติบำบัดเพื่อชีวิตที่เป็นสุข () โครงการโรงเรียนพ่อแม่ และ () โครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์

การประยุกต์หลักการพัฒนาตนตามแนวพระพุทธศาสนาของเจ้าหน้าที่เสถียรธรรมสถานซึ่งได้จากการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของเสถียรธรรมสถาน สรุปได้ว่า การได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเสถียรธรรมสถานโดยการอาสารับใช้ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างหนัก เจ้าหน้าที่เหล่านี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป็นทั้งจิตอาสา และยังได้รับการพัฒนาตนตามแนวพระพุทธศาสนา จนเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจอยู่ตลอด ทำให้เห็นสัจจธรรมและมีชีวิตที่เป็นสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕