หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางอลิศา ริมดุสิต
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : กรณีศึกษาผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศูนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔
ชื่อผู้วิจัย : นางอลิศา ริมดุสิต ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร.พธ.บ(การสอนสังคม),พธ.บ(ภาษาอังกฤษ), M.A.( Clinical Psy), Ph.D.(Psy.).
  ผศ.ดร.เริงชัย หมื่นชนะ, พธ.บ., M.Ed., Ph.d.(Educational & Guidance Psychology
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศูนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔ (๒) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศูนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔  (๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : กรณีศึกษาผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศุนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔ 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมานยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศูนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔ จำนวน ๔๐๐ คน  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙๖ คน ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ LSD

 

ผลการวิจัยพบว่า

                 ๑)กิจกรรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถือเป็นกิจกรรมหลักและที่สำคัญที่สุดของสมาคม เพื่อให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสผึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวทางที่ได้ผลดี เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตจึงเป็นที่นิยมของคนทั่วไปเป็นอันมาก ได้แก่ หลักสูตรพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา และสันติสุข โดยคุณแม่สิริ กรินชัย หลักสูตรเจริญสติ หลักสูตรวิปัสสนาสายพุทโธ หลักสูตรวิปัสสนาสำหรับพระสงฆ์ หลักสูตรวิปัสสนาสำหรับเยาวชน โดยพระวิปัสสนาจารย์ และวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ โดยยึดหลักมหาสติปัฏฐาน ๔

                 รวมทั้งสมาคมฯ ยังมีกิจกรรมด้านปริยัติเพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนา เช่น โครงการศึกษาพระอภิธรรม บรรยายพระไตรปิฏก และการสอนภาษาบาลี เป็นต้น ทั้งนี้นับว่าเป็นการเสริมศรัทธาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น

๒) ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ศูนย์ ๑) เพชรเกษม ๕๔ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๑๐ มีอายุระหว่าง ๒๐-๓๔ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๑๐ มีสถานภาพเป็นโสด คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๔๐ มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๔๐ ประกอบอาชีพ ส่วนตัว/เจ้าของกิจการ คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๑๘ มีรายได้สูงกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท/ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๙๐ มีประสบการณ์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ระหว่าง ๑-๕ ปี คิดเป็นร้อยละ๓๗.๒๐ มีความถี่ในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จำนวนครั้งที่ไม่แน่นอน คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๑๐ มีการปฏิบัติต่อกัน จำนวน ๑๕ วัน คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๓๐ มีสาเหตุต้องการศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๐

                ๓) แรงจูงใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน รวมสามด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๖ เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านสุขภาพจิต อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๔ รองลงมาคือ ด้านความเชื่อทางศาสนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  .๑๔  และด้านกายอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๑ เป็นอันดับสุดท้ายตามลำดับ

                 ๔) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และประสบการณ์การปฏิบัติวิปัสสนาที่แตกต่างกัน เป็นปัจจัยต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแตกต่างกัน สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน ไม่เป็นปัจจัยต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่แตกต่างกัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕