หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายณฐเมศร์ วงศ์ศุภาพัฒน์
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
แนวทางการประยุกต์ใช้สติและสัมปชัญญะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย
ชื่อผู้วิจัย : นายณฐเมศร์ วงศ์ศุภาพัฒน์ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ. ดร.ป.ธ.๙., M.A., Ph.D.
  ดร. ประพันธ์ ศุภษร ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พุทธศาสนศึกษา)พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร. พุทธชาติ แผนสมบุญ วท.บ., วท.ม., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวกับสติและสัมปชัญญะที่ปรากฏในในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทำงานบนเครื่องบินของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย (๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการประยุกต์ใช้สติและสัมปชัญญะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเอกสารเรื่องสติและสัมปชัญญะที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยค้นคว้าเอกสารหลักฐานจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับองค์ธรรมข้างต้น และการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Method) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นหญิงจำนวน ๕ คน และชายจำนวน ๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๐ คน

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติตามแนวทางมหาสติปัฏฐานสูตร ได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนในส่วนที่เป็นวิปัสสนาธุระ หรือ งานของจิต โดยมุ่งหวังผลของการเจริญสติ คือ การหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันธนาการของกิเลสและตัณหา เพราะว่า มหาสติปัฏฐานนี้เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียวที่จะนำเวไนยสัตว์ให้สามารถหลุดพ้นจากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองของใจได้ ทั้งนี้ผู้เจริญสติพึงมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่ในกายานุปัสสนา (การพิจราณารู้กายในกาย) เวทนานุปัสสนา (การพิจราณารู้เวทนาในเวทนา) จิตตานุปัสสนา (การพิจราณารู้จิตในจิต) และธรรมานุปัสสนา (การพิจราณารู้ธรรมทั้งหลายในธรรมทั้งหลาย)

ผลการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติตามแนวมหาสติปัฏฐานพบว่า ผู้ปฏิบัติมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น โดยการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ พบว่า ผู้ปฏิบัติสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีกว่าเดิม มีสติระลึกรู้ในการทำงาน เข้าใจคนอื่นได้ดี ปรับสภาวะทางจิตให้ยืดหยุ่นได้ มีความตั้งใจมั่น หรือทำให้มีสมาธิจิตที่ยาวนานกว่าเดิม ทำให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันได้ และผลมุ่งประสิทธภาพหลังจากปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติเป็นประจำ ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตใจที่เมตตาต่อคนอื่น โดยให้การช่วยเหลืองานสังคม เป็นจิตอาสา เสียสละบำเพ็ญประโยชน์หรือมีจิตสาธารณะ  ยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ตน ครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕