หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสุนทร ชาญนุวงศ์
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
กระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : นายสุนทร ชาญนุวงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  อาจารย์รุ่งอรุณ อบเชย ป.ธ.๖., กศ.บ., ค.ม.(หลักสูตรและการสอน)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง กระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อ กระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์   ๒. เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ๓. เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อการพัฒนากระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์

 

ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต ๖ จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย (Unit of Analysis) คือ เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างพัฒนาขึ้นเอง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (T – Test) การทดสอบค่าเอฟ (F – Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova)

 

ผลการวิจัย พบว่า

 

๑) ความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อ พบว่า พฤติกรรมด้านศีล ข้อ ๒. สามารถประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของศีล ๕ ได้ และพฤติกรรมด้านสมาธิ ข้อ ๕. ชอบเรียนวิชาที่มีการใช้ความคิดที่เป็นระบบและสลับซับซ้อน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในข้ออื่นๆ อยู่ในระดับมากทุกข้อ

 

๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลตาม อายุ มีความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน (Sig = ๐.๐๐๐) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จำแนกตามปัจจัยแวดล้อมของเด็กและเยาวชนและการเคยใช้สารเสพติดมา มีความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน (Sig = ๐.๐๐๖) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และที่ระดับ ๐.๐๕ ตามลำดับ ส่วนที่จำแนกตามการกระทำความผิด มีความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน (Sig = ๐.๐๔๕) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

 

๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการขัดเกลาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ควรส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ เข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขา ให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความรู้ทางพุทธธรรมเป็นอย่างดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นกัลยาณมิตร ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และซาบซึ้งในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เน้นการนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในกิจกรรมพื้นฐานและกิจวัตรประจำวัน

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕