เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง |
ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนาเรื่อง จั๋นต๊ะฆา |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระสมพงษ์ วชิรเมธี ( ฝั้นแต๋ ) |
ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระครูศรีรัตนากร ป.ธ. ๖, พธ.บ. (English), B.A. (Pali& Buddhism), M.A. (Philosophy), M.A. (English), Ph.D. (Pali& Buddhism) |
|
ผศ. ดร. วันชัย พลเมืองดี พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies) |
|
ดร.สิงห์คำ รักป่า ป.ธ. ๖, B.A. (Buddhist Thoughts), M.A. (Buddhist Studies), M.A. (Lanna Language and Literature), M.Ed. (English), Ph.D. (English) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏ ในวรรณกรรมค่าวซอเรื่อง จั๋นต๊ะฆา ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิตของชาวล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอเรื่อง จั๋นต๊ะฆา
ผลจากการศึกษาวิจัยประการที่ ๑ พบว่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอเรื่อง จั๋นต๊ะฆา โดยนักกวีได้นำเสนอหลักพุทธธรรมผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นผู้เล่าอธิบายหลักธรรมสอดแทรกเพื่อชี้ให้เห็นแนวทางปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ ตลอดทั้งผลของการไม่ปฏิบัติตามสำหรับหลักธรรมเท่าที่ปรากฏนั้นมี หลักศีล หลักกรรม หลักความประมาท หลักการแสดงความเคารพต่อกัน หลักการยึดหมั่นในสัจจะ หลักการเสียสละ หลักความกตัญญู หลักความรักความเมตตา และหลักทศพิธราชธรรม
ผลจากการศึกษาวิจัยประการที่ ๒ พบว่า วิถีชีวิตของชาวล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอเรื่อ จั๋นต๊ะฆา คือ ด้านการดำเนินชีวิต อันได้แก่ อาชีพ อาหาร การแต่งกาย ด้านวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีศพ พิธีสู่ขวัญ และด้านความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องการตั้งชื่อ ความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และความเชื่อเรื่องบาป บุญ นรก สวรรค์
ดาวน์โหลด |
|
|