หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
การประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ในชีวิตประจำวัน
ชื่อผู้วิจัย : พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี ป.ธ.๗,พ.ม., พธ.บ., ศศ.บ.,M.Lib. Sc., PGDLS, พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในพระไตรปิฏก ความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ และการประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ในชีวิตประจำวัน พุทธทาสภิกขุ ได้แปลความหมายความว่าง (สุญญตา) ว่าจิตว่าง และได้เน้นย้ำการทำงานด้วยจิตว่างในชีวิตประจำวัน

ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า การแปลความหมายของความว่าง (สุญญตา) ในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ ตรงกับความหมายของความว่างในบริบทของอนัตตาหรือความไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นความหมายของความว่างบริบทหนึ่งในสามบริบทของความหมายของความว่างที่มีมาในพระไตรปิฏก จากคำอธิบายเรื่องความว่างในพระไตรปิฎกซึ่งกล่าวถึงในจูฬสุญญตาสูตร มหาสุญญตาสูตร และสุญญสูตรนั้น จะพบแนวคิดเรื่องความว่างใน ๓ บริบทด้วยกัน บริบทแรกคือสุญญตวิหาร  บริบทที่สองคือความไม่มีตัวตนหรืออนัตตา และบริบทที่สามคือความมีสติรู้ตัวปล่อยวาง  ด้วยความเข้าใจชัดเจนในบริบททั้งสามของความว่างในพระไตรปิฏกเช่นเดียวกับความหมายของจิตว่างในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ เราจะสามารถประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ตามความหมายในพระไตรปิฏกและทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ  ในการทำงานและกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕