หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณัฐกิตติ อนารโท (ผุยเหง้า)
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การกำจัดมลทินในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระณัฐกิตติ อนารโท (ผุยเหง้า) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ป.ธ.๖, ป.วค. พธ.บ. (ภาษาไทย),M.A. (Ling) M.A., Ph.D. (Pali & Bud.)
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เล่มนี้  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย    ประการ  คือ  ๑) เพื่อศึกษามลทินในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การกำจัดมลทินและอานิสงส์ที่ปราศจากมลทินในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ  โดยเน้นการศึกษาในเชิงเอกสารโดยทำการรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก  อรรถกถา  เอกสารที่เกี่ยวข้อง  เก็บนำมาวิเคราะห์  สงเคราะห์  อธิบายในเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า    มลทินในพระสุตตันปิฎก หมายถึงความไม่บริสุทธิ์  ความเศร้าหมอง  ความขุ่นมัว  ความสูญสิ้น  พระวินัยปิฎก  หมายถึงการล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว, พระอภิธรรมปิฎก  หมายถึงลักษณะของจิตใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส  มลทินมี ๒ ประเภท คือ มลทินภายนอกและภายใน  โทษของมลทิน  คือทำให้จิตใจเกิดความเศร้าหมอง ขุ่นมัว  สูญสิ้นและเป็นทุกข์  สิ่งที่ทำให้เกิดมลทิน เช่น ความโกรธ  ความเกลียด  ความอิจฉา  ความริษยา  ความขี้เกียจ  ความมักอวด  ความมายา ความมักมากและความเห็นผิด  เป้าหมายของการกำจัดมลทิน เพื่อให้มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ส่วนวิธีการกำจัดมลทินให้ปฏิบัติตามหลักของอริยมรรคมีองค์ ๘    หลักโอวาทปาฏิโมกข์  หลักสมบัติแห่งความดี  หลักธรรมแห่งความดี  เพื่อให้ชีวิตดำเนินไปด้วยดี  มีสติปัญญา

จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า  การกำจัดมลทินทำให้ได้รับอานิสงส์ คือ ทำให้มีชีวิตได้อยู่ใกล้พระธรรม  ทำให้ไม่ตายจากความดี  ทำให้พ้นจากความทุกข์  เมื่อตายจากโลกนี้ย้อมได้ไปเกิดในสุคติที่ดีและได้อานิสงส์สูงสุด  คือ  ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีก

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕